• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมการล้างมือของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล

ชัยรัตน์ ลำโป; Chairat Lampo;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การล้างมือเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของการป้องกันการแพร่โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เพราะในขณะที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย มือของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรการแพทย์อื่นๆ มีโอกาสสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง สิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย หรือจากการสัมผัสทางอ้อม เช่น การสัมผัสอุปกรณ์เครื่องใช้ของผู้ป่วย รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน การศึกษานี้เพื่อศึกษาอัตราการล้างมือ อัตราความถูกต้องในการล้างมือ และระยะเวลาเฉลี่ยในการล้างมือ โดยการศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวาง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อมิให้กลุ่มบุคลากรการแพทย์ทราบว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมการล้างมืออันจะช่วยป้องกัน Hawthore effect ซึ่งอาจเกิดขึ้นขณะเก็บข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ได้สังเกตพฤติกรรมการล้างมือของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในแผนกชันสูตรโรคและแผนกทันตสาธารณสุข จำนวน 43 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1-30 เมษายน 2549 บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้เชิงพรรณนา โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows, version 11.5 จากการศึกษาสังเกตการสัมผัสผู้ป่วย 118 ครั้งที่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย พบว่าอัตราการล้างมือในกลุ่มบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลที่ถูกเฝ้าสังเกตเท่ากับร้อยละ 88.98 เมื่อจำแนกอัตราการล้างมือตามตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรการแพทย์ที่ถูกเฝ้าสังเกตพบว่าอัตราการล้างมือของแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค ทันตาภิบาล และเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เท่ากับร้อยละ 43.75, 100, 100, 100 และร้อยละ 50 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์อัตราความถูกต้องและไม่ถูกต้องในการล้างมือของบุคลากรการแพทย์เท่ากับร้อยละ 17.14 และร้อยละ 82.86 สรุปว่าบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล ยังคงมีพฤติกรรมการล้างมือที่ไม่ถูกต้องสูงถึงร้อยละ 82.86 ถึงแม้จะมีอัตราการล้างมือเพิ่มสูงถึงร้อยละ 88.98 ก็ตาม ดังนั้นบุคลากรการแพทย์เหล่านี้สมควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติต่อการล้างมือโดยเร่งด่วน อันจะช่วยลดและป้องกันปัญหาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ
Handwashing is an important method for the prevention of nosocomial infection, especially in light of the fact that all health personnel, i.e., doctors, nurses, and others, have contact with patientsû blood, excreta and secretions. The objectives of this cross-sectional study were to determine the rate of handwashing practiced, the accuracy of handwashing and average times spent in handwashing among health-care personnel in Khuankalong Hospital. The study was carried out in the period from April 1 to 30, 2006. Participant observation with a check-list form was used for data collection on 43 subjects, comprising physicians, nurses, dental health workers and laboratory technicians, using purposive sampling. Descriptive statistics were used for data analysis. The results of the study disclosed that, from 118 observations, the handwashing and accuracy rates of health-care personnel were 88.98 percent and 17.14 percent, respectively. The handwashing rates among physicians, nurses, technical nurses, dental health workers and laboratory technicians were 43.75 percent, 100 percent, 100 percent, 100 percent and 50 percent, respectively. It was evident that the health-care personnel of Khuankalong Hospital had a very high rate of inaccuracy in handwashing (82.86%) while their handwashing rate was only 88.98 percent. Thus, it is mandatory that all health-care personnel in this hospital should be encouraged to attend the intensive training course focusing on handwashing in order to reduce the occurrence of nosocomial infection.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 220.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 130
ปีพุทธศักราชนี้: 91
รวมทั้งหมด: 3,297
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV