• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

คู่มือการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551

วิชัย เอกพลากร; พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์;
วันที่: 2551-06-09
บทคัดย่อ
หัวใจสำคัญของการสำรวจทางสุขภาพคือการได้ข้อมูลที่ถูกต้องสามารถสะท้อนภาพปัญหาทางสุขภาพแท้จริงของประชากร องค์ประกอบสำคัญของการได้ข้อมูลที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้วัดที่มีความเที่ยงตรง ผู้เก็บข้อมูลที่มีความเข้าใจการใช้เครื่องมืออย่างดี สามารถวัดเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ไม่มีอคติ และผู้สำรวจมีศิลปะในการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ผู้ให้ข้อมูลไว้วางใจและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการดำเนินการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4 พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยระดับชาติ จำนวนกลุ่มตัวอย่างกว่าสามหมื่นคนที่อาศัยใน 4 ภาคและกรุงเทพมหานคร เนื้อหาสุขภาพที่สำรวจครอบคลุมหลายประเด็น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีทั้งแบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ การตรวจร่างกายและการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ การดำเนินงานจึงมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการสำรวจเก็บข้อมูลจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีแนวทางการดำเนินเป็นมาตรฐานเดียวกันและมีความเป็นสากล เอกสารฉบับนี้ยังเป็นคู่มือการอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ในการจัดการ การดำเนินการ เป็นแนวทางมาตรฐานและการปฏิบัติงานภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ คู่มือฉบับนี้จึงเหมาะกับผู้จัดการโครงการ ผู้ประสานงานภาค ผู้จัดการทีมเก็บข้อมูลภาคสนาม ผู้สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่เจาะเลือด ผู้ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษ ตลอดจนผู้นิเทศ และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาในคู่มือการสำรวจนี้แบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ โดยส่วนแรกประกอบด้วย 7 บท คือ บทที่หนึ่งและสอง แนะนำประวัติความเป็นมาและภาพรวมเกี่ยวกับการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย บทที่สามเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติภาคสนาม การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย บทที่สี่อธิบายเกี่ยวกับหลักการและวิธีการควบคุมคุณภาพข้อมูล บทที่ห้าอธิบายบทบาทหน้าที่ของผู้ปฏิบัติการภาคสนาม บทที่หกและเจ็ด อธิบายวิธีการตรวจร่างกาย การตรวจพิเศษ ขั้นตอนการส่งตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ สำหรับเนื้อหาในส่วนที่สอง ครอบคลุมคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับแบบสอบถาม และแบบทดสอบต่างๆ และคำจำกัดความต่างๆ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1698.pdf
ขนาด: 13.50Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 117
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV