บทคัดย่อ
สปสช.เขต8 อุดรธานี ได้มีการสำรวจการรับรู้เรื่องสิทธิและความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของบุคลากร ในจังหวัดภายในเขตรับผิดชอบ 6 จังหวัด คือ เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม เพื่อประเมินสถานการณ์การรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยบริการต่อการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
จากการศึกษาพบว่าเภสัชกรและทันตแพทย์มีสัดส่วนการรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์โดยเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มวิชาชีพอื่นคือร้อยละ 76.9 บุคลากรในหน่วยบริการส่วนใหญ่รับทราบข่าวสารข้อมูลด้านหลักประกันสุขภาพผ่านทางโทรทัศน์ร้อยละ 78.1 รายการวิทยุที่ฟังเป็นรายการเพลง ข่าว และรายการทั่วไปในสัดส่วนใกล้เคียงร้อยละ 31.5, 30.2 และ 26.5 ตามลำดับ ร้อยละ 37.1 ฟังในช่วงเวลา 06.00-08.00 น. สำหรับหนังสือพิมพ์กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.6 ไม่ได้อ่าน ด้านความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพบว่า คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 8.15 จาก 10 คะแนนกลุ่มที่พึงพอใจสูงสุด ได้แก่ บุคลากรทั่วไป (8.50 คะแนน) วิชาชีพที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือเภสัชกรให้คะแนน 7.37 ความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ และความพึงพอใจในสื่อประชาสัมพันธ์ของ สปสช. อย่างมีนัยสำคัญ
ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าสปสช.ควรกำหนดกลยุทธในการสื่อสารและทำงานร่วมกับบุคลากรวิชาชีพต่างๆที่มีความจำเพาะมากขึ้นและควรเร่งสร้างความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ต่างๆให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่อัตราการรับรู้ยังต่ำและในกลุ่มบุคลากรที่ยังมีข้อจำกัดด้านการรับรู้ การสื่อสารในระบบปรกติที่ผ่านทางราชการยังเป็นช่องทางหลักแต่ช่องทางเสริมอื่นๆต้องเพิ่มความเข้มข้นโดยเฉพาะจุลสารซึ่งจัดเป็นสื่อเฉพาะที่สามารถเสนอข้อมูลนโยบายรวมทั้งการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างต่อเนื่องได้แต่ต้องมีปริมาณที่เพียงพอ รูปแบบและเนื้อหาต้องน่าสนใจและสอดคล้องกับรสนิยมของกลุ่มบุคลากรผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่มีอนาคตในการสื่อสารสู่บุคลากรเช่นกัน
บทคัดย่อ
The National Health Security Office (NHSO) region 8 in Udonthani Province surveyed health personnel
in six provinces: Loei, Nongbualampoo, Nongkhai, Udonthani, Sakon Nakhon and Nakhon Phanom
for the purpose of evaluating understanding of the benefits, information and people’s satisfaction with the health security system. The results revealed that the majority (76.9%) of pharmacists and dentists
knew about the benefits of the health security system, which was less than that of other health professions.
Most personnel received information about health security via television (68.1%). For radio, the
popularity of songs, news and general events was almost the same proportion (31.5, 30.2 and 26.5%,
respectively). The most popular period was between 6 and 8 a.m. (37.1%); 62.6 percent of health personnel
did not read newspapers. The satisfaction of personnel with health security was 8.15 out of a possible
score of 10 and general personnel had highest satisfaction at 8.5. The least satisfaction was among pharmacists
at 7.37. The study found that the satisfaction of the personnel who were positive related to their
knowledge of health benefits in the health security system and satisfaction with the media provided by
the national health security office. The Internet is also an interesting route as it is easy to use and efficient
in communicating to target populations.
It is suggested that NHSO should perform specific public relations campaigns and work more specifically
with each group of health personnel. Attention should be paid to the low level of information that
personnel had received. Formal letters are still the main route for providing information to health personnel.
Alternative routes of information dissemination should be used, especially newsletters, to create
good attitudes toward the national health security system, taking into consideration aspects such as quantity,
style and content conforming to the taste of the personnel concerned.