• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยเอชไอวี โดยปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 เทียบกับปริมาณเชื้อเอชไอวี

นภดล เสรีรัตน์; Nopadol Sareratana;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อประเมินผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอชไอวีระยะภูมิคุ้มกันเสื่อม (เอดส์) ด้วยค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 ลักษณะเวชกรรม และปริมาณเชื้อเอชไอวีเป็นตัวชี้วัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยระยะเอดส์ที่มาตรวจรักษาตามนัดอย่างสม่ำเสมอที่คลินิกยาต้านเอชไอวี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นระยะเวลา 2-7 ปี และมีผลการรักษาและคุณภาพชีวิตระดับดีตามการประเมินความสามารถด้วยคะแนนคาร์นอฟสกีย์อยู่ในระดับสูงคือ 90-100 คะแนน จำนวน 128 คน จากการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณเชื้อเอชไอวีต่ำกว่า 50 ชุด/มล. (copies/ml) 88 ราย (ร้อยละ 68.75) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ 84 ราย (ร้อยละ 95.45) มีค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 และลักษณะเวชกรรมในระดับดี และ 33 ราย (ร้อยละ 25.78) มีปริมาณเชื้อเอชไอวี 50-1,000 ชุด/มล. แต่ 30 ราย (ร้อยละ 90.91) ค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 ประเมินเป็นระดับดีและยังพบว่า 7 ราย (ร้อยละ 5.47) มีค่าปริมาณเชื้อเอชไอวีมากกว่า 1,000 ชุด/มล.ซึ่งผู้ป่วยในจำนวนนี้ 4 ราย (ร้อยละ 57.14) มีค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 อยู่ในระดับดี หลังจากการนำค่าปริมาณเชื้อเอชไอวีมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม แล้วติดตามประเมินผลพบว่าในกลุ่มที่ผลการรักษาไม่ดีที่มีเชื้อเอชไอวี 50-1,000 ชุด/มล. สามารถควบคุมปริมาณเชื้อเอชไอวีให้ลดลงน้อยกว่า 50 ชุด/มล. ร้อยละ 90.91 ในเวลา 3 เดือน และควบคุมให้ลดลงน้อยกว่า 50 ชุด/มล. ได้ทั้งหมดร้อยละ 100 ใน 6 เดือน กลุ่มที่มีโอกาสดื้อยาที่มีค่าปริมาณเชื้อเอชไอวี มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 ชุด/มล. ทั้งหมด 7 ราย หลังจากมีการติดตาม 2 ครั้งพบว่าจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 3.12) ไม่ดีขึ้น ซึ่งเมื่อส่งตรวจทดสอบภาวะดื้อยาพบว่ามีภาวะเชื้อดื้อยาทุกราย และต้องเปลี่ยนใช้ยาสูตรดื้อยา จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าระบบการติดตามประเมินผลการรักษาด้วยค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 และลักษณะเวชกรรมไม่ไวพอต่อการประเมินภาวะการรักษาล้มเหลว ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรมีการตรวจค่าปริมาณเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยในกระบวนการติดตามประเมินผลการรักษาในประเทศไทยเพื่อให้สามารถประเมินภาวะของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ทันการณ์และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและเรียนรู้ในกระบวนการให้คำปรึกษาแบบผู้ป่วยมีส่วนร่วมในคลินิกให้คำปรึกษา จะทำให้เพิ่มประสิทธิผลของกระบวนการรักษาอยู่ในระดับที่ดี ลดโอกาสเกิดภาวะดื้อยาในผู้ป่วยได้

บทคัดย่อ
The viral load (VL) test is not widely available in Thailand for HIV follow-up, which relies mostly on CD4 count and clinical manifestations. Kuchinarai Crown Prince Hospital (KCPH) has implemented the VL test in collaboration with MSF-Belgium. Coherent PHA (N=128) for 2-7 years, including VL, CD4 count, clinical symptoms and Karnofsky score 90-100, were used. The first arm reading involved 88 cases (68.75%) with undetectable VL (<50 copies/ml), 84 (95.45%) having good CD4 count with no OI symptoms; that of arm 2 involved 33 cases (25.78%) with VL between 50 and 1,000 copies/ml, with 30 cases (90.91%) having good CD4; that of the last arm involved 7 cases (5.47%) with VL > 1,000 copies/ml, of which 4 cases (57.14%) has good CD4. Arm 2 received adherence counseling, followed by second and third VL follow-up (3-month interval) resulting in undetectable VL after the second interval. Arm 3 (last arm) showed no improvement in 4 cases (57.14%). They were put on second line ART. At the end of the study, 124 cases (96.88%) out of 128 cases were undetectable (VL < 50 copies/ml); while 4 cases (3.13%) with VL > 1000 copies/ml became resistant to the first line ART and were switched to the second line ART. The study shows that the systematic VL test should be included in HIV treatment to detect treatment failure (i.e. virologic failure). The VL test is a tool for PHA active involvement addressing adherence. Viral load test should comprise a minimum package for HIV treatment in Thailand. Our study shows that proper follow-up with systematic (client center) VL test reduces the cost of second line treatment.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 265.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 63
ปีพุทธศักราชนี้: 39
รวมทั้งหมด: 545
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV