บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยเบาหวาน โดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การใช้ยาและการรักษาพยาบาล การดูแลเท้า การควบคุมอารมณ์และสังคม การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการออกกำลังกายก่อนและภายหลังได้รับคำปรึกษา 3 เดือน รวมทั้งเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังได้รับคำปรึกษา ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 มก./ดล. จากคลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 30 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และจากแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรใช้สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการทดสอบไม-สแควร์และเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดใช้การทดสอบค่าทีจับคู่ ผลการศึกษาแสดงว่าผู้ป่วยเบาหวานหลังได้รับการให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองเป็นรายบุคคลแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตนเองทั้งในด้านการบริโภคอาหาร การใช้ยาและการรักษาพยาบาล การดูแลเท้า การควบคุมอารมณ์และสังคม การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการออกกำลังกายที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดหลังได้รับคำปรึกษามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าดัชนีมวลกายไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ผู้วิจัยสรุปว่าการให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และการดูแลตนเองเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งในการควบคุมดูแลบำบัดโรคและภาวะแทรกช้อนของโรค ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปรกติมากที่สุด
บทคัดย่อ
The objective of this quasi-experimental study was to determine the effects of counseling
on self-care behavior among diabetic patients in Nongpok Community Hospital,
Roi Et Province. The subjects included 30 diabetic out-patients with a fasting plasma
glucose level > 140 mg/dl who were selected by purposive sampling from those attending
the diabetic clinic and agreed to participate in the study. They received counseling on
self-care issues in respect of food modification, treatment and drug use, foot care, emotional
control, prevention of complications, and proper exercise. Data on self-care behavior,
fasting plasma glucose, and body mass index were obtained from the participants
before and three months after the program ended. Percentage and mean were used for
descriptive analysis; Pearson’s correlation, chi-square test or paired t-test were used to
determine the association between data before and after the program.
The results showed the mean scores of self-care behavior following the counseling
program were significantly higher than those obtained on commencing the program, and
the levels of fasting plasma glucose were significantly reduced after the counseling program.
The body mass index of the patients, however, remained unchanged. Counseling
on self-care behavior may be advocated for use in diabetic patients.