• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมสุขภาพตามนโยบาย 6 อ. ของประชาชน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ประพันธ์ สุนทรปกาสิต; Prapant Soontornpagasit;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาเพื่อหาความรู้และการปฏิบัติตามนโยบาย 6 อ. สร้างสุขภาพ ใช้เครื่องมือที่ศึกษาแบบสัมภาษณ์ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (ค่าความเชื่อมั่น 0.70) วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา และสถิตินุมาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นหญิงร้อยละ 56.1 อายุเฉลี่ย 44.5 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 41.1 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 65.1 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 28.5 ไม่มีรายได้ประจำร้อยละ 69.7 มีโรคประจำตัวร้อยละ 79.3 เมื่อเจ็บป่วยไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลร้อยละ 69.3 มีความรู้ตามนโยบาย 6 อ. ด้านอาหารในระดับสูงมากที่สุด และด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำสุด ส่วนใหญ่ปรุงอาหารกินเอง ออกกำลังกายโดยการเดินและวิ่ง คลายเครียดโดยการดูหนัง/ฟังเพลง/เดินเล่น ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดบริเวณบ้าน กำจัดขยะด้วยวิธีเผา ด้านอโรคยามีการคาดเข็มขัดหรือสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่เป็นส่วนน้อย ด้านอบายมุขส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่/ไม่ดื่มสุรา ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความรู้ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม รายได้ประจำมีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านอโรคยา (ค่าพี < 0.05) ผู้รายงานแนะนำว่าควรเน้นการสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนอย่างเป็นระบบ มีรูปแบบการปฏิบัติที่สามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

บทคัดย่อ
This research was aimed at studying the knowledge and implementation of the “six categories” policy for the establishment of health. The tool used was the modified interview questionnaires of the Health Education Division, Health Service Support Department (Reliability = 0.70). Descriptive and inferential statistics were used. The samples were 56.1 percent female; average age was 44.5 years, 41.1 percent finished primary education, 65.1 percent were married, 28.5 percent were farmers, 69.7 percent had no fixed income, 79.3 percent had congenital disease, 69.3 percent, when they got a health problem, went to a public health center or hospital having knowledge of the “six categories” policy on food aspects at the highest level and on environmental health at the least high level, mostly cooking for themselves, exercising normally by walking and jogging, relaxing by watching films/listening to music/walking around, and on the environmental health aspect by cleaning house and disposing of rubbish by burning, using seat belts less often or a safety helmet while driving. The majority did not smoke/ or drink alcohol, and their education level was related to their environmental health knowledge, while fixed income was related to their knowledge of preventive measures (p <.05). The results indicated that building systemic knowledge among the public should be focused on those practices which will lead to correct health behavior.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 217.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 49
ปีพุทธศักราชนี้: 27
รวมทั้งหมด: 882
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV