• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสอบสวนโรคมือ เท้า และปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

มาลี สิริสุนทรานนท์; Malee Sirisuntranont; สมพร หุ่นเลิศ; Somporn Hunlert; ปองปรีดา คงดั่น; Pongpreeda Kongdun; กิตติศักดิ์ จรัสทอง; Kittisak Charustong;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมือ เท้าและปาก สืบค้นหาสาเหตุ ค้นหาผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่และผู้สัมผัสใกล้ชิด ศึกษาวิธีการถ่ายทอดโรค และค้นหาแนวทางป้องกันควบคุมโรคในเหตุการณ์ระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่งในอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบสวนโรคเฉพาะรายและเวชระเบียนประวัติผู้ป่วย ผลการตรวจร่างกายและประวัติการสัมผัสโรคในนักเรียน 159 ราย ร่วมกับการสัมถาษณ์ผู้ป่วยและผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง แม่บ้าน และแม่ครัว รวม 20 คน และจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโรคมือ เท้า ปาก จากรายงานการเฝ้าระวังโรค (รง.506) จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2550 เปรียบเทียบข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง รวมทั้งผลการสำรวจสิ่งแวดล้อม และแบบเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในช่วงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 - 1 สิงหาคม 2550 ผลการศึกษาเปิดเผยว่าในช่วงวันที่ 13 กรกฎาคม - 27 กรกฎาคม 2550 พบผู้ป่วย 3 ราย จากนักเรียนทั้งหมด 159 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 1.9 รายแรกเริ่มป่วยวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 รายที่ 2 และ 3 เริ่มป่วยวันที่ -16 กรกฎาคม 2550 ผู้ป่วยเป็นชาย 1 ราย และหญิง 2 ราย อายุเฉลี่ย 3 ปี ไม่มีผู้เสียชีวิต ผลการตรวจอุจจาระทางห้องปฏิบัติการจากผู้ป่วย 2 ราย ไม่พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่มีความรุนแรงมาก) มีหลักฐานอนุมานได้ว่าการติดต่อของโรคน่าจะมาจากการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนในของเล่น อุปกรณ์หรือสถานที่ที่เด็กใช้ร่วมกัน หรือการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการ ไอ จามของผู้ป่วย ลักษณะการกระจายของโรคอาจเป็นแบบแหล่งโรคร่วม การควบคุมและป้องกันโรคประกอบด้วยการให้สุขศึกษา การเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งมีการรายงานตั้งแต่ผู้ป่วยที่สงสัย การลดการสัมผัสจากคนสู่คน โดยการปิดโรงเรียน และการจัดทำมาตรการควบคุมป้องกันโรคในบ้านของผู้ป่วย โรงเรียน และชุมชน การเฝ้าระวังโรคต่อมาไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม

บทคัดย่อ
The study employed a descriptive approach, aimed at confirming the medical diagnosis of hand, foot and mouth disease (HFMD) and attempted to identify infected people, disease transmission and appropriate measures for disease prevention and control in a child development center in Sainoi District, Nonthaburi Province. Patients’ data were collected from investigation reports, OPD card, and laboratory reports. This center served a total of 159 children and 20 personnel, including nursery shcool teachers, assistant teachers, house-maids and cooks (and/or their parents). They were interviewed and examined for the disease during the period July 16 - August 1, 2007. Surveillance data on HFMD from 506 reports for Nonthaburi Province from 2002 to 2007 were also reviewed. An environmental survey was conducted in the center to determine the possible mode of transmission. During the period July 13 to 27, 2007, three cases (1.9 %) out of the 159 children who visited the center were found to have HFMD. In the first case, the onset of clinical symptoms occurred on July 13, 2007; in the 2nd and 3rd cases symptoms were observed on July 16, 2007. All three cases were 3 years old. One case was a boy and the others were girls. No case died in this outbreak. The stool specimens obtained from two cases were negative for enterovirus 71, the organism causing severe HFMD. The possible common-source transmission of this disease might be from contact with the contaminated toys, common equipment or places used by children, and droplet spread. Prevention and control measures included massive health education, early detection of suspected HFMD cases, reduction in the transmission from humans to humans by closing the center concerned, and setting up disease prevention and control regimes in the patients’ houses, the center, and the community. No subsequent cases were detected after implementing the control measures.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 181.1Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 3
เดือนนี้: 12
ปีงบประมาณนี้: 1,040
ปีพุทธศักราชนี้: 507
รวมทั้งหมด: 9,022
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV