• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การควบคุมกำกับและประเมินผล โครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ กลุ่มศาสนาพุทธ มจร.

สุวัฒน์ ศรีสรฉัตร์; กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์; นุชวรรณ์ บุญเรือง; สุนันท์ จำรูญสวัสดิ์; เกรียงไกร ยอดเรือน; สิทธิกร รองสำลี;
วันที่: 2553-12
บทคัดย่อ
เอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เพราะยังคงมีความชุกอยู่ในระดับสูง แม้ว่าอัตราอุบัติการที่พบผู้ป่วยรายใหม่จะลดลง จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักวัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์กระทรวงสาธารณสุขเมื่อเดือนกรกฎาคมปีพ.ศ. 2552 พบว่ามีผู้ป่วยเอดส์ทั้งประเทศ 352,424 ราย และมีผู้เสียเสียชีวิต 94,931 ราย โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 20-44 ปีซึ่งเป็นวัยทำงาน (1) ทุกภาคส่วนในสังคมได้พยายามเข้ามามีส่วนร่วมที่จะดำเนินการป้องกันและไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากโรคเอดส์ภายใต้กลวิธีการดำเนินงานที่หลากหลาย และครอบคลุมยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้ทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มศาสนาที่มีการดำเนินการในกลุ่มแกนนำพระนิสิตที่กำลังศึกษาในมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดทัศนคติในทางที่ดีต่อผู้ติดเชื้อและสามารถทำงานในด้านการป้องกันและให้กำลังใจผู้ติดเชื้อโดยการทำงานเพื่อร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มศาสนานั้น มีโครงการที่ดำเนินงานในกลุ่มศาสนาพุทธและมุสลิม ในการดำเนินงานดังกล่าวมีองค์กรผู้นำศาสนาของทั้งสองศาสนาเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยการดำเนินงานในกลุ่มศาสนาพุทธนั้นให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีและเอดส์ให้กับกลุ่มพระนิสิตที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อที่จะได้นำประสบการณ์การเรียนรู้ไปขยายผลสู่เพื่อนพระด้วยกันและสู่ชุมชน เพื่อร่วมในกิจกรรมการรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อเอดส์และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อผู้ติดเชื้อ ลดการรังเกียจและตีตราทางสังคมต่อไป ซึ่งทั้งสองโครงการมีระยะเวลาดำเนินการเริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นมา ซึ่งณ. ปัจจุบันระยะเวลาในการดำเนินงานของทั้งสองโครงการใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพราะการประเมินผลโครงการ (Program Evaluation) เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในขั้นตอนของการดำเนินงานด้านสุขภาพ เพื่อทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการได้ทราบถึงผลลัพธ์และความสำเร็จที่เกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการดำเนินงาน (2) ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กลวิธีและรูปแบบของการดำเนินงานในขั้นต่อๆ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสนองตอบปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง และทันต่อเหตุการณ์ วัตถุประสงค์การประเมินเพื่อประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มศาสนา โดยอาศัยกระบวนการประเมินผลตามแนวคิด CIPP Model ของ Stufffle Beams ประกอบด้วยการประเมินบริบทของโครงการ (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการดำเนินงาน (Process) และผลลัพธ์ที่ได้(Outcome) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัด และกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานของแต่ละโครงการ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1787.pdf
ขนาด: 346.1Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 91
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV