• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์ระบบบริการสาธารณสุข ไตรมาส 3 [เมษายน – มิถุนายน 2553]

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย;
วันที่: 2554
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้เป็นการติดตามสมรรถนะและสัมฤทธิผลของการดำเนินงานในระบบบริการสาธารณสุขและการคลังสุขภาพของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2553 โดยทำการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลทุติยภูมิสำคัญที่มีอยู่แล้ว คือฐานข้อมูลอิเลคทรอนิคส์ผู้ป่วยในของผู้ป่วยในกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลตามตัวชี้วัดในแต่ละช่วงเวลา อาศัยกรอบแนวคิดและเครื่องชี้วัดเพื่อการติดตามประเมินระบบการคลังสุขภาพและระบบบริการสุขภาพ ที่ได้จากประชุมระดมสมองและกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในลักษณะของคณะทำงานที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข องค์กรประกันสุขภาพ นักวิชาการ โดยคัดเลือกเฉพาะตัวชี้วัดสำคัญที่มีความไวพอที่จะสะท้อนสถานการณ์ของระบบบริการได้อย่างชัดเจน ทั้งสมรรถนะและคุณภาพของระบบบริการปฐมภูมิ บริการรักษาแบบผู้ป่วยใน การวิเคราะห์มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ (1) อัตราตายมาตรฐานโรงพยาบาล โรงพยาบาลที่มีค่านี้สูงในไตรมาส 3 คือ โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ในเขต 1 และ 2 โรงพยาบาลชุมชน ในเขต 1 (จังหวัดปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี), 2 (จังหวัดลพบุรี, ชัยนาถ), 4 (จังหวัดสุพรรณบุรี, นครปฐม), และ 18 (จังหวัดนครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร) (2) อัตราการนอนโรงพยาบาลของโรคที่ควรควบคุมได้ด้วยบริการแบบผู้ป่วยนอก (Ambulatory care sensitive case, ACSC) ซึ่งอัตราที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงปัญหาคุณภาพของบริการปฐมภูมิที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีอาการมากหรือควบคุมไม่ได้จนต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2553 โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ในเกือบทุกเขตส่วนใหญ่มีค่าสูงขึ้นต่อเนื่อง ในแต่ละเขตมีโรงพยาบาลชุมชนที่มีค่านี้สูง ประมาณครึ่งหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ เขตละ 1-2 จังหวัด (3) ค่ามัธยฐานของ relative weight ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ซึ่งแสดงความซับซ้อนของโรคที่รับไว้เป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทุกระดับในทุกเขต ปี 2553 ไตรมาส 3 มีค่าเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (4) ค่ามัธยฐานของ adjusted relative weight ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ซึ่งแสดงทรัพยากรที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทุกระดับในทุกเขต ปี 2553 ไตรมาส 3 มีค่าเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (5) ค่ามัธยฐานจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ของการให้บริการผู้ป่วยในของโรงพยาบาลแต่ละระดับมีค่าคงที่ ในทุกช่วงเวลา หมายเหตุ เนื่องจากรายงานฉบับนี้เป็นรายงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการกำกับติดตามสถานการณ์ของการให้บริการสุขภาพ จึงเน้นที่ความรวดเร็วของการออกรายงาน ดังนั้นข้อมูลจึงอาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากสถานบริการหลายแห่งยังส่งข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน หรืออาจยังมีข้อผิดพลาด ดังนั้นดัชนี ที่แสดงในรายงานนี้จึงยังมิใช่ข้อสรุป ซึ่งจะมีการปรับแก้ต่อเนื่องในรายงานไตรมาสต่อไป และจะนำเสนอเป็นดัชนีประจำปีในรายงานวิเคราะห์ประเมินสมรรถนะระบบบริการสุขภาพประจำปีในขั้นสุดท้าย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1805.pdf
ขนาด: 1.956Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 38
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV