บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาโดยวิธีการศึกบาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ดำเนินการในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ระดับการมีส่วนร่วม และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความรู้ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามมาตรฐานบริการสาธารณสุข โดยทำการตรวจประเมินคุณภาพแบบเครือข่ายของบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุข 256 คน จากโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชลบุรี 6 แห่ง คือ โรงพยาบาลเกาะสีชัง โรงพยาบาลบ่อทอง โรงพยาบาลพานทอง โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม โรงพยาบาลสัตหีบ และโรงพยาบาลหนองใหญ่ การศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรามข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติแจกแจงความถี่เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยแสดงว่าบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่าย จังหวัดชลบุรี มีความรู้ในการดำเนินงานตามมาตรฐานบริการสาธารณสุขโดยการตรวจประเมินคุณภาพแบบเครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามมาตรฐานบริการสาธารณสุขโดยการตรวจประเมินแบบเครือข่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับปัจจัยจูงใจมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง และมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งในภาพรวมและองค์ประกอบแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าในงานที่ทำ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยกย่องนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านความรับผิดชอบ สำหรับปัจจัยค้ำจุนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย น้อย และมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งในภาพรวมและองค์ประกอบแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพการทำงาน ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านเงินเดือนและประโยชน์เกื้อกูลและด้านความมั่นคงในงานที่ทำ และพบว่าการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ผู้วิจัยได้ให้คำแนะนำในการดำเนินงานตามมาตรฐานบริการสาธารณสุขโดยการตรวจประเมินคุณภาพแบบเครือข่ายของบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรีจากประสบการณ์ที่ได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้ด้วย
บทคัดย่อ
Background and Rationale: The health service system, as one part of the means for
preserving health, is focused on health insurance to assure the good quality, efficiency,
and equity of health services. The main concept behind developing and improving health
services, using the Hospital Network Quality Audit, is the participation and willingness
of people to develop the quality of health services continuously. Therefore, participation
plays a major role in the success of the Hospital Network Quality Audit.
Methodology: This was a descriptive research study using cross-sectional analysis.
The questionnaires were distributed between the 3rd and 10th of October 2007. The
data were entered into the program to analyze them for frequency, percentage, means,
standard deviation, and range. Pearson’s product-moment correlation coefficient was used
to evaluate the relationships between the independent variables and the participation in
the Hospital Network Quality Audit.
Setting: Two hundred and fifty-six health professionals for the Hospital Network
Quality Audit in the hospital network, Chonburi Province.
Results: The majority of health professionals had a medium level of knowledge of
the factors in the Hospital Network Quality Audit. Knowledge factors were significantly
related to the level of participation in the Hospital Network Quality Audit. The majority
of the health professionals had a medium level of motivator factors and there were significantly
related to the participation in the Audit. When considering each subscale, the
results showed that the subscales of advancement, achievement, recognition, work itself
and responsibility were significantly related to the participation in the Hospital Network
Quality Audit; the majority of the health professionals involved had a low level of hygiene
factors and these factors were significantly related to their participation in the Audit.
When considering each subscale, the subscales of policy and administration, work
conditions, interpersonal relations with supervisor, subordinates, peers, salary and job
security were significantly related to participation in the Audit, and the majority of the
health professionals had a medium level of participation in it.
From the results of this study, suggestions were made on measures ranging from
personal development by self-learning, training and seminars for quality improvement.
Moreover, the hospital committee should assess the needs of all staff in order to improve
the social welfare benefits and financial remuneration in addition to the government support.