• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้กราฟโภชนาการหญิงมีครรภ์และเส้นทางลูกรัก กับการปฏิบัติตนระหว่างมีครรภ์ และน้ำหนักทารกแรกคลอดที่โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดศรีสะเกษ

ยุวดี โอฬารธนาเศรษฐ์; Yuwadee Olanthanasate;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับกราฟโภชนาการ และเส้นทางลูกรัก กับการปฏิบัติตนระหว่างมีครรภ์และน้ำหนักทารกแรกคลอดของผู้มาคลอด โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างหญิงมีครรภ์ 371 คน ด้วยแบบสอบถามที่โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดศรีสะเกษ การวิเคราะห์ข้อมูใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยใช้สถิติทดสอบที ไฆ-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทดสอบความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล และการรับรู้กราฟโภชนาการและเส้นทางลูกรัก กับการใช้ประโยชน์กราฟโภชนาการและเส้นทางลูกรัก น้ำหนักทารกแรกคลอด และการฝากครรภ์คุณภาพ การศึกษาพบว่าระดับการศึกษาและอายุของผู้มาคลอดมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกคลอด (ค่าพี = 0.003 และ 0.002) ลำดับการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์คุณภาพ (ค่าพี = 0.0049) สัดส่วนการฝากครรภ์ครบคุณภาพของผู้ตั้งครรภ์ที่ 2-4 สูงกว่าผู้ตั้งครรภ์ครรภ์แรก/ครรภ์ที่ 5 1.57 เท่า (95%CI=1.000-2.454) การรับรู้กราฟโภชนาการมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์กราฟโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ และเส้นทางลูกรัก (ค่าพี = 0.000 และ 0.000) การรับรู้เส้นทางลูกรักมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์กราฟโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และเส้นทางลูกรัก (ค่าพี = 0.000 และ 0.000)

บทคัดย่อ
The objectives of this cross-sectional study were to analyze the correlation between Personal Qualities and the Pregnancy’s Perception Factors, such as the pregnancy nutrition graph and pregnancy pathway, as they related to self-care during pregnancy and antenatal care for newborns’ birth weight. The subjects were 371 pregnant women who visited community hospitals in Sisaket when going into labor. The data were collected using self-administered questionnaires and these were analyzed using t-test, chi-square and Pearson’s correlation coefficient. The results revealed that both the educational level and age were significantly correlated to the newborn’s birth weight (p=0.034 and 0.002). Gravidity was significantly correlated to quality of antenatal care (p=0.049). The quality of antenatal care of second to fourth gravidity was 1.57 times significantly higher than the first and fifth gravidity. Perception on the pregnancy pathway was significantly correlated to the utilization of the pregnancy nutrition graph and pregnancy pathway (r=0.403, p-value=0.000 and r=0.407, p=0.000). Perceptions on the pregnancy pathway were significantly correlated to the utilization of the pregnancy nutrition graph and the pregnancy pathway (r=0.416, pvalue= 0.000 and r=0.487, p=0.000).
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 239.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 93
ปีพุทธศักราชนี้: 58
รวมทั้งหมด: 813
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV