• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลการช่วงชิงพื้นที่ข่าวในการผลักดันนโยบายเกี่ยวกับกลูโคซามีน และภาพสะท้อนกระบวนการผลักดันนโยบายปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

สายศิริ ด่านวัฒนะ; ฐิติมา นวชินกุล; Saisiri Danwattana; Thitima Nawachinkul;
วันที่: 2554-06
บทคัดย่อ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 ให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ดำเนินการควบคุมค่าใช้จ่ายของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยเฉพาะค่ายาผู้ป่วยนอก กรมบัญชีกลางได้แต่งตั้งคณะทำงานวิชาการมาศึกษาและเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับยากลุ่มที่ควรควบคุม ผลการศึกษาของคณะทำงานวิชาการฯพบว่ายากลุ่มกลูโคซามีนมีประสิทธิผลไม่ชัดเจนในการรักษาหรือบรรเทาอาการโรคข้อเสื่อมแต่มีการเบิกจ่ายสูงมาก นำไปสู่คำสั่งกรมบัญชีกลางยกเลิกสิทธิสวัสดิการข้าราชการในการเบิกจ่ายยาดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวคัดค้านจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งหนังสือพิมพ์ได้นำเสนอข่าวเป็นระยะตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ.2554 จากการวิเคราะห์ข่าวตัดจากหนังสือพิมพ์จำนวน 62 ข่าว พบว่า ในแง่ของผลผลิต (outputs) ฝ่ายผู้ผลักดันนโยบายได้พื้นที่ข่าว และมูลค่าทางการประชาสัมพันธ์มากกว่าฝ่ายผู้คัดค้านมาก แต่ในแง่ของผลลัพธ์ (outcomes) อันสืบเนื่องจากเนื้อหา ประเด็นโต้แย้ง และความหลากหลายของบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ประกอบกับสถานการณ์การเมืองใกล้เลือกตั้ง ทำให้ฝ่ายคัดค้านประสบความสำเร็จมากกว่าในการผลักดันให้มีผู้มีอำนาจตัดสินใจ ยอมถอยหรือผ่อนคลายมาตรการดังกล่าว บทความนี้ให้ข้อเสนอแนะในการผลักดันนโยบายการปฏิรูประบบสวัสดิการข้าราชการฯในอนาคต ตามกรอบแนวทางการจัดกระบวนการผลักดันนโยบาย (advocacy) โดยมีการจัดการด้านการสื่อสารงานข่าวและประชาสัมพันธ์เป็นส่วนสนับสนุน

บทคัดย่อ
Dramatically increasing in the cost of OPD drug reimbursement under the CSMBS resulting in policies to control and reduce the cost. The cabinet mandated Comptroller General’s Department (CGP) to manage such policies into practice. A technical taskforce was appointed and assigned to study and propose policy recommendations. Based on a key study by the technical taskforce, medical benefit and pharmacoeconomic aspects of Glucosamine HCL (GS) are not well established. Thus, it was recommended to remove GS from the list of reimbursement. This resulted in the CGP regulation announced on January 1, 2011. Affected patients and other stakeholders fight against the regulation. Conflicts and arguments were presented in newspapers continuously for 6 months. The analysis of news coverage using 62 news clippings compared the achievement of policy advocate and the opposition in using media to affect policy. It clarified that the advocate seemed to be more successful in output from media both in size and PR value of news but the outcome return to be different. Resulted from sender, message and channel strategies and variety of alliance, the opposition successfully blocked the regulation. This article suggests on future advocacy and media strategies for CSMBS reform processes.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v5n2 ...
ขนาด: 672.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 52
ปีพุทธศักราชนี้: 33
รวมทั้งหมด: 1,414
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV