• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมการคุกคามทางเพศในกลุ่มเด็กและเยาวชน ภายใต้อิทธิพลการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สุวรา แก้วนุ้ย; Suwara Kaewnuy; ทักษพล ธรรมรังสี; Thaksaphon Thamarangsi;
วันที่: 2554-06
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มของคดีเกี่ยวกับเพศที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอธิบายลักษณะของพฤติกรรมการคุกคามทางเพศภายใต้อิทธิพลของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนในประเทศไทย โดยมีแหล่งข้อมูลจากการสืบค้นคดีคุกคามทางเพศที่ปรากฏอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์ย้อนหลัง 10 ปี (ระหว่างพ.ศ. 2542-2551) และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างคือเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.นนทบุรี จำนวน 15 ราย ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์แสดงให้เห็น จำนวน ความรุนแรงและความซับซ้อนของอาชญากรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 3 เท่าในรอบ 10 ปี อายุของผู้ถูกกระทำและผู้กระทำผิดมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง โดยอายุของผู้ถูกกระทำอยู่ในช่วง 4-102 ปี อายุของผู้กระทำผิดอยู่ในช่วง 15-76 ปี ซึ่งจากข้อมูลอายุของผู้กระทำผิดพบว่า ส่วนมากผู้กระทำผิดมีแนวโน้มอายุลดน้อยลง และอยู่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น โดยช่วงเวลาที่เกิดเหตุมากที่สุดคือช่วงเวลากลางคืน และรูปแบบของการคุกคามทางเพศที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์มากที่สุดคือการข่มขืน ส่วนมากเป็นการกระทำที่เกิดจากคนรู้จัก โดยเฉพาะคนในครอบครัว จากการสัมภาษณ์เยาวชนที่กระทำผิดพบว่า 13 ใน 15 รายของผู้กระทำผิดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-3 ชั่วโมงก่อนกระทำผิด และมีผู้กระทำผิด 8 รายที่ดื่มพร้อมกันกับผู้ถูกกระทำ โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามามีบทบาทในการรวมกลุ่มซึ่งนำไปสู่การวางแผนและความคิดในการกระทำผิด ข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือผู้กระทำผิดจะดื่มในรูปแบบที่ไม่มึนเมา (20-30 กรัมของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์) แต่เป็นการดื่มเพื่อให้เกิดความมั่นใจและความกล้าในการกระทำผิดโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษานี้คือ ควรเพิ่มความเข้มข้นและการเคร่งครัดในการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นต้น และควรมีระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลคดีเกี่ยวกับเพศและ อาชญากรรมต่างๆ รวมทั้งควรมีระบบการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้กระทำผิดด้วย เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเกี่ยวข้องกับคดีเกี่ยวกับเพศและอาชญากรรมต่างๆ ตลอดจนควรมีการประชาสัมพันธ์และใช้มาตรการต่างๆในการปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมที่มีต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการคุกคาม/อาชญากรรมทางเพศให้เป็นเรื่องไม่ธรรมดาในสังคม

บทคัดย่อ
The purpose of this research was to study the situation and trends of sex crimes in relation to consumption of alcoholic beverages as well as to explain the types of sexual abuse carried out while under the influence of adolescents and youth in Thailand. The sources of information were cases related to sex crimes which appeared in print media over the past 10 years (between B.E. 2541-2551) and from the collection of qualitative data from in-depth interviews. The sample group consisted of 15 adolescents and youth at the Central Observation and Protection Center, Nonthaburi who committed sex crimes. From the research it was found that information from print media portrayed the number, violence, and complications of sex crimes related to the increased consumption of alcohol in Thailand, at three fold over the past ten years. The age of victims and perpetrators is greatly varied, with the age of victims between 4-102 years old and of perpetrators between 15-76 years old. From information on the perpetrators it was found that the ages are decreasing and are increasingly youth or adolescents. The crimes mostly take place at night and the abuse reported in print media the most is rape. The majority of the crimes are carried out by known people, especially family members. From interviewing youth who carried out crimes, it was found that 13 of 15 drank alcoholic beverages 2-3 hours before committing the crime and ¯ drank with the victims. Drinking alcoholic beverages plays a role in bringing together groups which lead to planning and thinking of committing crimes. An interesting point found was that perpetrators did not drink to get drunk (20-30 grams of pure alcohol), but to become confident and brave enough to carry out the crimes without any consideration. Recommendations from this study include the need to be more rigorous and strict with using related laws such as forbidding the sales of alcohol to people under 20 years old according to the Royal Decree on Control of Alcoholic Beverages, B.E. 2551. Information on sex crimes and other crimes need to be collected and there information on alcohol consumption of the perpetrators should be collected as well. This is because alcohol is related to sex crimes and other crimes. There should be measures to publicize and change attitudes in society regarding alcohol consumption and sex crimes are not a normal aspect in society.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v5n2 ...
ขนาด: 353.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 50
ปีงบประมาณนี้: 1,154
ปีพุทธศักราชนี้: 718
รวมทั้งหมด: 8,304
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV