• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย : ผลจากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2550

สุรศักดิ์ ไชยสงค์; Surasak Chaiyasong; ทักษพล ธรรมรังสี; Thaksaphon Thamarangsi;
วันที่: 2554-06
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากร (สพบส.) ดำเนินการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทุกๆ 3-4 ปี ในปี 2550 การสำรวจนี้ได้เพิ่มคำถามสำคัญสำหรับนโยบายแอลกอฮอล์ ได้แก่ ปริมาณการดื่ม การดื่มอย่างหนัก และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกระบบภาษี รวมทั้งเพิ่มขนาดตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรได้ในระดับจังหวัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทย วิธีการศึกษา: สพบส.2550 เป็นการสำรวจที่ทำการสุ่มแบบสองขั้นตามชั้นภูมิ (stratified two-stage sampling) เก็บข้อมูลจากตัวอย่างทั้งหมด 79,560 ครัวเรือน โดยการสัมภาษณ์โดยตรงด้วยแบบสอบถาม ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2550 การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป [N=168,285] การวิเคราะห์ทำโดยใช้ค่าถ่วงน้ำหนักเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งประเทศ ผลการศึกษา: ความชุกของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ใน 12 เดือน ดื่มภายใน 30 วันที่ผ่านมา ดื่มประจำทุกสัปดาห์ ดื่มแบบเสี่ยงสูง ดื่มอย่างหนัก และดื่มแล้วขับขี่ยานพาหนะ เท่ากับร้อยละ 30.0, 21.1, 16.4, 2.8, 4.9 และ 10.1 ตามลำดับ ร้อยละ 12.9 ของผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ระบุว่าดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 12 เดือน การดื่มแอลกอฮอล์พบมากในกลุ่มผู้ชาย มีอายุ 20-49 ปี จบประถมศึกษาหรือต่ำกว่า สถานภาพสมรส รายได้ระดับปานกลาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือใช้แรงงาน อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล และอยู่ในภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ในระดับจังหวัดความชุกของผู้ดื่มมีสัดส่วนสูงที่สุดอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีคนบริโภคมากที่สุดคือ เบียร์ รองลงมาคือ สุราขาว และสุราสี ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกระบบภาษีมีความชุกเท่ากับร้อยละ 2.4 (ดื่มเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศร้อยละ 2.3 และที่นำเข้าจากต่างประเทศร้อยละ 0.2) โดยปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกระบบภาษีคิดเป็นร้อยละ 4.7 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมด อภิปรายผล: การศึกษานี้รายงานข้อมูลสถานการณ์การบริโภคแอลกอฮอล์ของประชากรไทย และนำเสนอข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้ในการประเมินและติดตามมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มประชากรและจังหวัดที่มีความชุกของการดื่มสูง

บทคัดย่อ
Objective: The Cigarette Smoking and Alcohol Drinking Behavior survey (CSAD) has been conducted by the National Statistical Office every 3-4 years. In 2007, this survey added crucial questions for alcohol policy, including quantity of drinking, binge drinking and untaxed alcohol consumption. In addition, it has a large sample size which can represent the population at provincial level. The objective of this study is to report alcohol consumption behaviors of the Thai population. Methods: The 2007 CSAD was a stratified two-stage sampling. Data were collected from 79,560 households by structured questionnaire, face-to-face interview during July to September 2007. This study analyzed data of sample aged 15 years or older [N=168,285]. The data were estimated to represent the population using sampling weights. Results: Prevalence of 12-month drinkers, 30-day drinkers, regular (weekly) drinkers, high-risk drinkers, binge drinkers, and drink-driving was 30.0%, 21.1%, 16.4%, 2.8%, 4.9% and 10.1% respectively. 12.9% of underage people (<20 years) reported consuming alcohol in the last 12 months. Alcohol drinkers were highly prevalent in a group of people who were male, aged 20-49 years, married, low educated, middleincome level, agriculture and labor, and living in rural area and the North and Northeast. Among all provinces, prevalence of alcohol drinkers was highest in North provinces. The most consumed alcoholic beverage was beer, followed by white spirits and colored spirits. Prevalence of untaxed alcohol drinkers was 2.4% (2.3% for domestic products drinkers and 0.2% for imported products drinkers). Estimated untaxed consumption was 4.7% of total alcohol consumption. Discussion: The findings of this study illustrate situation of alcohol consumption of the Thai population and critical information to be used for evaluation and monitoring in populations and provinces with high prevalence of alcohol use.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v5n2 ...
ขนาด: 683.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 9
ปีงบประมาณนี้: 95
ปีพุทธศักราชนี้: 56
รวมทั้งหมด: 2,076
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV