บทคัดย่อ
โครงการ “การจัดการความรู้แบบบูรณาการ กรณีเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง” เป็นโครงการที่พัฒนาต่อยอดและบูรณาการทำงานของเครือข่าย 2 เครือข่ายซึ่งมีการดำเนินการอยู่แล้ว คือเครือข่ายเวชปฏิบัติที่ดีทางคลินิกเพื่อการพัฒนาการดูแลโรคเบาหวาน (Toward Clinical Excellence Network- DM, TCEN-DM) และเครือข่ายจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน (เครือข่าย KM เบาหวาน) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้แบบบูรณาการ กรณีเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในบริบทไทย และมีวัตถุประสงค์เฉพาะได้แก่ (1) เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ประสบการณ์ ความรู้ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง รวมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาให้เป็นแนวทางเวชปฏิบัติที่ดีอย่างเป็นระบบ (2) เพื่อพัฒนาการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ในการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และ (3) เพื่อให้เครือข่ายการจัดการความรู้แบบบูรณาการเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาจากความเชื่อที่ว่า ความรู้มีอยู่ในทุกการปฏิบัติที่เป็นเลิศและในตัวผู้ที่ปฏิบัติงาน ดังนั้นการจัดการความรู้ในโครงการนี้คือการจัดการให้ความรู้ไหลเวียนจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ การจัดการให้มีการสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้เป็นวงจรไม่รู้จบ การดำเนินการตามโครงการนี้ได้มีการคัดเลือกแกนนำจากเครือข่าย TCEN และ KM เบาหวานที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ ภูมิภาคละ 4 ทีม เพื่อให้เป็นผู้รับผิดชอบหลัก (Node) ในภูมิภาคนั้นๆ มีการพัฒนาสมรรถนะทีมแกนนำในเรื่องการใช้การจัดการความรู้, การใช้ตัวชี้วัด TCEN และการใช้แผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping) ในการสร้างเครือข่าย วางแผน และดำเนินโครงการ หลังจากนั้น แกนนำเครือข่ายในแต่ละภูมิภาคนำความรู้ดังกล่าวไปขยายผลในพื้นที่ของตนเอง ทั้งในระดับภูมิภาคที่ตนเองรับผิดชอบ และร่วมจัดการประชุมวิชาการมหกรรมการจัดการความรู้ “สานพลังความรู้ฝังลึก และความรู้แจ้งชัดเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง” เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคม 2552 สำหรับความรู้ต่างๆ ที่สกัดเป็นขุมความรู้และสังเคราะห์เป็นแก่นความรู้ (Competency) จากการจัดตลาดนัดความรู้ในแต่ละภูมิภาค คณะทำงานได้นำมาพิจารณารวมกับแก่นความรู้จากการจัดตลาดนัดความรู้ในครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งหมด 11 ครั้ง สามารถระบุแก่นความรู้ได้จำนวน 9 ปัจจัย ซึ่งทีมแกนนำเครือข่ายได้แจกแจงเป็นขีดความสามารถ 5 ระดับ ที่สามารถนำไปใช้ประเมินและพัฒนาสมรรถนะทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในบริบทของไทยได้สำหรับตัวชี้วัด TCEN นั้นได้มีการเพิ่มตัวชี้วัดจากเดิม 17 ตัวชี้วัดเป็น 20 ตัวชี้วัด เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและพิจารณาปรับปรุง Template ของตัวชี้วัดแต่ละตัวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกเหนือจากจัดกิจกรรมต่างๆ แล้วโครงการยังได้จัดพิมพ์หนังสือ 2 เล่ม คือหนังสือ “เรื่อง เล่าเบาหวาน: เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ เล่ม 2” และหนังสือ “TCEN เบาหวาน: ชี้ทิศ กำหนดเป้าเร่งเร้าพัฒนา” จัดทำวิดีทัศน์เรื่องสานพลังความรู้ฝังลึกและความรู้แจ้งชัดฯ และใช้ Weblog: http://gotoknow.org/blog/dmcop เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเรื่องเล่าและข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากโครงการใน วงกว้างต่อไป ตลอดเวลา 1 ปีของการดำเนินโครงการโดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้กระทำในบรรยากาศเชิงบวกเป็นกันเอง ด้วยความรู้สึกชื่นชม ยกย่อง ให้ความเคารพ และเห็นคุณค่าของกันและกัน ทำให้แกนนำและสมาชิกของเครือข่ายมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มีความผูกพันกันทางใจ และสามารถร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้อย่างดียิ่ง ทำให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายนี้จะ สามารถดำเนินการต่อไปข้างหน้าได้ด้วยตนเอง
บทคัดย่อ
The comprehensive knowledge management in Diabetes/Hypertension
case project is organized to integrate the two existing networks- Toward Clinical
Excellence Network-DM (TCEN-DM) and Diabetes Knowledge Management Network.
The main objective of this project is to combine the comprehensive knowledge
management in Diabetes/Hypertension case in Thai content with the specific objectives
of the followings (1) To collect and synthesize the experience, knowledge and
innovation about diabetes/hypertension prevention and health promotion in or to
develop the clinical excellence system (2) To establish the benchmark measurement in
diabetes/hypertension management and (3) To share the knowledge in comprehensive
diabetes/hypertension knowledge management among network for best practice. The
assumption of this project is that the knowledge can be extracted from the best practice
and staff. So, the knowledge management in this project is to transfer the knowledge
from the person to the others and continuous management to create, share and adapt the
knowledge.
The leader from TCEN and Diabetes KM network from 4 regions of the
Thailand was selected to be the core responsible person (Node). They were trained for
the knowledge management, TCEN indicator and outcome mapping for building the
network, planning and operating the project. The Node was then transferred the
knowledge into their area and provided the knowledge management forum “Synergy
between tacit and explicit knowledge for diabetes and hypertension patient” during Aug
03-04, 2009. Based on the output competency from 11 events of knowledge
management market in each region, the working committee had a conclusion of 9
factors and classified into 5 levels that were used to evaluate and improve the potential
of diabetes/hypertension care team in Thailand context.
For TCEN indicator, it was increased from 17 to 20 indicators to accord
with indicator of the National Health Security Office which was revised to an
appropriate template of each the indicator.
Other than the above activity, this project has published 2 books:-
“Diabetes story: learning through practicing volume 2” and “Diabetes TCEN: Pointing,
Setting the target and Developing”. The synergy tacit and explicit knowledge story was
produced in CD and made the weblog: http://gotoknow.org/blog/dmcop to distribute the
data, story and another summary from this project.
Through a year of the project implementation by using the knowledge
management tool, most of activities were conducted under the positive, friendly,
respective atmosphere with appreciation of all participants of this project. This made the
leader and the members of the network a good relationship and collaboration. It is
confident that the network can be operated in a sustainable way.