• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมกองทุนประกันสังคม

วีระศักดิ์ พุทธาศรี; ชุติมา อรรคลีพันธุ์; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
การวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับบริการทันตกรรม ความเป็นไปได้ของการขยายสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม ตลอดจนการปรับปรุงเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วยทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดประกันสุขภาพทันตกรรม ร่วมกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับบริการทันตกรรมจากข้อมูลการสำรวจสภาวะอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ การศึกษาค่าใช้จ่ายเพื่อการเบิกจ่ายทันตกรรม จากสำนักงานประกันสังคมตัวอย่าง ๙ เขตพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นของการเข้ารับบริการทันตกรรมร่วมกับการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการจัดบริการทันตกรรม ๑๘ คน ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗ โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อเสนอความเป็นไปได้ของการเพิ่มเติมการใส่ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติกการตรวจฟันและวางแผนการรักษา ในชุดสิทธิประโยชน์ และการเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเป็นเหมาจ่ายรายหัวและการบริหารจัดการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้ประกันตนรับบริการทันตกรรมร้อยละ ๑๑ เฉลี่ย ๐.๑๗ ครั้งต่อคน มีค่าใช้จ่ายจริง ๗๖๒ บาทต่อครั้ง มีการดำเนินเรื่องเบิกจ่ายต่อกองทุนประกันสังคม ๑.๐๔ ล้านครั้ง รวมเป็นเงิน ๒๐๘ ล้านบาท ภาระการเบิกจ่ายงานทันตกรรมของกองทุนเป็นร้อยละ ๘๕ ของจำนวนรวมสวัสดิการรักษาพยาบาลของกองทุนทั้งหมด มีค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากรเท่ากับ ๒๓ – ๓๐ บาทต่อครั้ง หรือ ๓ – ๗ บาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งราย สำหรับข้อเสนอของทางเลือกเพื่อปรับปรุงสิทธิประโยชน์นั้น ทางเลือกแรกอาจให้โครงการจ่ายตามจำนวนและประเภทบริการ และขยายเพดานวงเงินทันตกรรม ตั้งแต่ ๕๐๐ ๘๐๐ บาทต่อคนต่อปีจะมีค่าใช้จ่าย ๔๐๗ – ๖๕๑ ล้านบาท ทางเลือกที่สองให้กองทุนเหมาจ่ายงบประมาณรายหัว โดยมีองค์กรหน่วยงานมารับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวจากกองทุน และเป็นผู้รับความเสี่ยงโดยมีหน้าที่จัดหาทันตแพทย์และคลินิกทันตกรรมที่เพียงพอกับจำนวนผู้ประกันตน และต้องจ่ายค่ารักษาทันตกรรมให้คลินิกตามราคาที่ตกลงไว้เบื้องต้น ผู้ประกันตนจะเข้ารับบริการทันตกรรมในคลินิกเครือข่ายของคู่สัญญาหลักที่ลงทะเบียนไว้กองทุน ฯ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ ๕๒๘ – ๖๐๒ ล้านบาท ๗๑ – ๘๑ บาทต่อคน การตัดสินใจของแต่ละทางเลือกจะขึ้นกับการให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องที่ประกอบด้วย ต้นทุนการบริหารจัดการ , ความเป็นไปได้ทางการเงิน , การเข้าถึงบริการของผู้ประกันตน , ความเท่าเทียมกับกลุ่มสวัสดิการอื่น และคุณภาพของบริการ ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนต้องเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา และการบริหารจัดการ ทั้งนี้อาจจำเป็นต้องมีรูปแบบวิจัยนำร่องในระดับพื้นที่ก่อนที่จะประกาศใช้ทั่วประเทศ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2005_DMJ66_การปรั ...
ขนาด: 681.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 105
ปีพุทธศักราชนี้: 64
รวมทั้งหมด: 994
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV