บทคัดย่อ
แต่เดิมการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชนใน จ.อุบลราชธานีไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทีมวิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการวิเคราะห์ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ทราบสถานการณ์และหาทางพัฒนาต่อไป ดังนั้น ทีมวิจัยจึงได้จัดทำโครงการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการบริหารจัดการโรคเบาหวานระหว่างโรงพยาบาลชุมชนต่างๆขึ้น เป็นการวิจัยระยะยาว วิเคราะห์ข้อมูลฐานอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลชุมชน 18 แห่ง จากโปรแกรม HI 16 โรงพยาบาล , Mbase 1โรงพยาบาล , HOSxP 1 โรงพยาบาล ย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2552 ด้วยโปรแกรม STATA version 9.2 ผลการศึกษา พบว่าในด้านกระบวนการดูแล ปี 2549 ตรวจติดตามตัวชี้วัด HbA1c,CHO ,TG , HDL, LDL,UA และ Scr ร้อยละ 3.95, 37.85, 39.80 , 29.40, 34.14, 17.61 และ 65.98 ตามลำดับ ตรวจเพิ่มขึ้นในปี 2552 ร้อยละ 26.55,56.09, 59.30 , 52.07, 57.52, 32.15 และ 66.52 ตามลำดับ ผลลัพธ์ด้านคลินิก ปี 2552 เทียบกับปี 2549 สูงขึ้นคือ LDL <100 mg/dl ,TG <150 mg/dl HDL > 40 mg/dl ร้อยละ 39.53, 32.88 และ 19.30 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในปี 2552 ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ของ HbA1c < 7 % , FBS 90-130 mg/dl , BP <130/80 mmHg ลดลงเป็นร้อยละ 25.63 , 11.55 , 12.01 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 ร้อยละ 31.40 , 11.86 , 20.47 ตามลำดับ กล่าวโดยสรุปคือ คุณภาพการบริหารจัดการโรคเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชนในจ.อุบลราชธานีมีกระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผลลัพธ์ด้านคลินิกระหว่างปี 2549-2552 มีแนวโน้มดีขึ้นแต่ในภาพรวมยังต่ำกว่ามาตรฐาน
บทคัดย่อ
Background: Evaluation of the diabetic management programs among community hospitals is not
comparable. Therefore, it is recommended to use data analysis from EMRs in evaluating diabetic care in order to drive the quality of diabetic care at the community hospital level. Objective: To compare and evaluate the process and clinical outcomes of diabetic care. Method: EMRs from the period 2006-2009 were
retrieved from 18 community hospital database systems to evaluate the process and clinical outcomes of
diabetic care. The process of care was measured as having received at least one clinical lab test each year.
Data were encoded for patient confidentiality. Results: Process of Care Quality of the diabetic care process
increased from 2006 to 2009. The proportion of patients who received at least one HbA1c lab test, CHO,
TG, HDL, LDL, UA and Scr were determined in 3.95%, 37.85%, 39.80%, 29.40%, 34.14%, 17.61%, and 65.98%
of patients in 2006, respectively. These numbers increased to 26.55%, 56.09%, 59.30%, 52.07%, 57.52%,
32.15%, and 66.52% in 2009, correspondingly. Outcomes of care: Compared with 2006, the proportion of
patients who had LDL<100 mg%, TG <150 mg%, HDL ≥40 mg% were 39.53%, 32.88%, and 19.30% in 2009
respectively. In 2009, however, the proportion of patients whose HbA1c<7%, FBS 90-130 mg%, BP ≤130/
80 mmHg decreased to 25.63%, 11.55% and 12.01%, compared with 31.40%, 11.86% and 20.47% in 2006,
correspondingly. Conclusion: Although the process and some clinical outcomes of diabetic care improved
from 2006 to 2009, other clinical outcomes decreased. Proactive diabetic management programs should be implemented to enhance diabetic control.