บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนที่ประหยัดได้ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ จากการแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ในมุมมองของผู้ให้บริการ รูปแบบการศึกษาเป็นเชิงพรรณนาและเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม 2553 ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนได้แก่ ต้นทุนทางตรงด้านการแพทย์ โอกาสที่จะเกิดอันตรายหากไม่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มวินิจฉัยโรค และต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งของผู้ป่วยทุกกลุ่มวินิจฉัย ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยนอกเท่ากับ 7.56 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา และผู้ป่วยในเท่ากับ 5.01 ต่อ 1,000 วันนอน ต้นทุนที่ประหยัดได้เท่ากับ 6,309.21 บาท ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องเท่ากับ 5,676.52 บาท ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกเท่ากับ 50.60 บาท ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ที่รักษาแบบผู้ป่วยในเท่ากับ 199,280.66 บาท ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาอาการที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ E-I เท่ากับ 7,361.90 บาท และต้นทุนที่ประหยัดได้สุทธิเท่ากับ 192,602.05 บาท ในระยะเวลา 6 เดือน สรุปได้ว่า การแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา ทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณของโรงพยาบาลและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย
บทคัดย่อ
This study was aimed at analyzing cost savings, cost addition, and cost avoidance from medication
error interventions at Sawangdandin Crown Prince Hospital, Sakon Nakhon Province. A prospective
descriptive study was conducted from a provider’s perspective during the period February-July 2010.
Cost analysis data were direct medical care costs, probability of harm if the patient did not receive
pharmacist’s interventions, relative weight of the related drugs, and average cost of drugs.Results showed that the incidence of medication error involving out-patients was 7.56 per 1,000
prescriptions and inpatients was 5.01 per 1,000 patient-days. The cost saving was 6,309.21 baht. The cost
addition of interventions to dispense the right medicines was 5,676.52 baht. The cost avoidance of outpatient
treatment was 50.60 baht. The cost avoidance of inpatient treatment was 199,280.66 baht. Cost addition
for treatment of medication error category E-I was 7,361.90 baht. The net cost saving was 192,602.05
baht in 6 months.
In conclusion, medication error interventions can save the hospital budget and promote patient safety.