บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ แต่ที่ผ่านมาผู้สูงอายุถูกมองเป็นเพียงผู้รับการเกื้อหนุนจากครอบครัวและสังคมเท่านั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนและศักยภาพการดูแลตนเองในการส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในผู้สูงอายุตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test
ผลของการพัฒนาเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนและศักยภาพการดูแลตนเอง ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนที่หลากหลายในการดูแลตนเอง การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้ศิลปะและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาวะภายหลังการพัฒนาเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น พบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ มีเครือข่ายเพื่อน การเกื้อหนุนทางสังคมโดยเพื่อน ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และสุขภาวะ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการส่งเสริมการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของผู้สูงอายุ การเสริมพลังและใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองในชุมชนได้ นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี
บทคัดย่อ
Older persons are an important resource of the nation; however, they previously had been viewed as
persons only receiving support from family and society. This research project was aimed at developing
friendship networks and increasing the potential of self-help groups to promote healthy aging among
community-dwelling older adults. Participatory action research was applied to older adults in
Woranakhorn subdistrict, Pua district, Nan Province. Data were collected using focus group discussion
and questionnaires. Content analysis was performed for qualitative data. For quantitative data analysis,
the mean, standard deviation, and paired t-test were used. The development of friendship networks and potential self-help groups resulted in several self-care
activities, including performing basic physical examinations and health evaluations, reciprocal caring
and taking care of each other within the community, and creating health-promoting activities applying
folk art and local wisdom. Compared with changes in older adults after developing friendship networks
and self-help groups, it was found that, after project intervention, the older adults who regularly participated
in the friendship group activities had friendship networks, friendship support, self-efficacy, healthpromoting
behaviors, and healthy aging greater than before the intervention, with statistical significance
at the 0.05 level. Therefore, promoting the potential of elderly individuals, empowering and using social
capital within the community can promote friendship group activities and self-help groups among community-
dwelling elders, thus facilitating the achievement of healthy aging.