บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ในด้านเป้าหมายการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ลักษณะกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ หลักสูตรและเนื้อหา ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน วิธีการจัดการศึกษา สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การประเมินผล การบริหารจัดการ ผลการจัดการศึกษา (2) ศึกษาความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ในด้านเป้าหมายการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ลักษณะกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ หลักสูตรและเนื้อหา ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน วิธีการจัดการศึกษา สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การประเมินผล การบริหารจัดการ ผลการจัดการศึกษา (3) ศึกษาอนาคตภาพการจัดการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย เครื่องมือที่ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ จัดขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในช่วงอายุ 60-64 ปี มากที่สุด ผู้จัดการศึกษาและผู้สอนคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในรูปแบบการจัดอบรมระยะสั้น โดยสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้มากที่สุดคือ สื่อบุคคล ประเมินผลด้วยวิธีการสังเกตโดยใน พ.ศ. 2553 พบว่า มีโครงการที่จัดให้ผู้สูงอายุของหน่วยงานต่าง ๆ มากที่สุด คือ 1-3 โครงการ
2. ความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ จัดขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในช่วงอายุ 60-64 ปี มากที่สุด ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน คือครูภูมิปัญญาหรือผู้รู้ในชุมชน ในรูปแบบการจัดอบรมระยะสั้น สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่ต้องการมากที่สุด คือ สื่อบุคคล ประเมินผลด้วยวิธีการประเมินตามสภาพจริง และต้องการให้ชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายบริหารจัดการการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
3. อนาคตภาพการจัดการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย มีเป้าหมายการจัด เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดี เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและสามารถปรับตัวเข้ากับชุมชน สังคม และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในสังคมได้ กิจกรรมการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยแบบบูรณาการในลักษณะสาระบันเทิง มีการสร้างและส่งเสริมแกนนำผู้สูงอายุเพื่อเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่พึ่งตนเองได้ และกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ เนื้อหาการเรียนรู้ควรตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ตามความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล และควรนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ชีวิตที่เป็นจริง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการปรับตัวทางสังคมและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจและการออม ด้านการเรียนรู้ และด้านสิทธิของผู้สูงอายุตามกฎหมาย วิธีการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ การจูงใจให้ผู้สูงอายุเข้ารับการศึกษา ควรเน้นการประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยเสริมแรงจูงใจเรื่องประโยชน์ผู้สูงอายุจะได้รับหลังจากเข้ารับการศึกษา ผู้จัดการศึกษาและผู้สอน ควรเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาผู้สูงอายุในพื้นที่ กิจกรรมการจัดการศึกษาควรบูรณาการอย่างหลากหลายรูปแบบ ในลักษณะพหุวัย เน้นการอภิปรายหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันอย่างไม่เป็นทางการ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ควรมีบทบาทสำคัญและใกล้ชิดในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล การประเมินผลควรประเมินตามสภาพจริงด้วยการสังเกต โดยมีการบริหารจัดการในลักษณะที่ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายร่วมกันบริหารจัดการ ให้งบประมาณสนับสนุนและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกัน
บทคัดย่อ
The research study on “Education and Lifelong Learning of Thai Senior Citizens” is a mixed-method research. The study aims to: 1) study the overview of lifelong education management for senior citizens that includes objectives of lifelong education management, characteristics of targeted senior citizens, curriculums and content, education facilitators and instructors, education management methods, education media and learning resources, assessment methods, management and the results of education management; 2) explore demand for lifelong learning among the senior citizens also in terms of objectives of lifelong education management, characteristics of targeted senior citizens, curriculums and content, education facilitators and instructors, education management methods, education media and learning resources, assessment methods, management and the results of education management; and 3) study a scenario of education and lifelong learning management for Thai senior citizens. Finally, two different research instruments were questionnaires and group discussions.
The research findings can be summarized below:
1. Overview of lifelong education management for Thai senior citizens: The lifelong education management for senior citizens was designed mainly to maintain healthful conditions for the senior citizens aged between 60 and 64 years old. The education facilitators and instructors include local public health officers who conduct short-term training sessions where personnel media acts as the main education media as well as learning sources. The results of this education management can be assessed by means of observation. In 2010, various organizations organized a maximum of one to three projects aimed at educating the senior citizens.
2. Demand for lifelong learning among Thai senior citizens: Similar to the aforementioned issue, the lifelong learning activities for senior citizens are also aimed at taking care of the senior citizens aged between 60-64 years old. The education facilitators or instructors are wisdom teachers or knowledgeable individuals in the communities. The leaning is also seen in a form of shot-term training sessions. The most popular education media and learning resource is personnel media. Meanwhile, the results are assessed by the observation of the actual progress. Finally, various geriatric clubs expect to form partnership and collaboration in managing lifelong education.
3. A scenario of education and lifelong learning management for Thai senior citizens: The major objective of the education and lifelong learning management for Thai senior citizens is to help senior citizens stay so healthy that they enjoy solid relationship with their families and are able to happily adapt themselves to the communities and society. With their healthful conditions, they are also able to participate in all activities available in the society. The education and lifelong learning is managed for Thai senior citizens in a form of the edutainment, in which the learning at the formal education system, non-formal education system and the information education system is very well integrated. Groups of senior citizen leaders are formed up and act as leaders encouraging the other fellows to participate in the learning activities which are designed mainly for two major target groups, namely a self-reliant group and a non self-reliant group. The content for the learning should suit the demand of the senior citizens as well as their abilities to learning. Further, the content should be applied to their daily lives. Generally, the content of knowledge is divided into five aspects- sanitary, adaption to society and metal states, economy and saving, learning and the legal rights of senior citizens. There are many ways to manage the education and lifelong learning for senior citizens. The education managers or facilitators should motivate the senior citizens to learn. In so doing, they may promote the learning activities as well as convincing senior citizens of the benefits they will gain from the learning activities. The education facilitators and instructors should ideally be those who work on geriatric development in the localities. The learning activities should vary and are organized for multi-age learners. The activities should allow learners to discuss and exchange knowledge in casual ways. Education media as well as learning resources should pay a key role in the management of education and lifelong learning for individual senior citizens. The results of the learning can be assessed by observation of the real progress of the learners. Finally, in managing education and lifelong learning for senior citizens, involved parties should also apply a partnership approach where all parties join hand to manage the learning, offer some financial aids as well as managing all resources available in the communities.