บทคัดย่อ
องค์กรอนามัยโลกได้รายงานว่าปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เฉลี่ยในประชากรผู้ใหญ่ไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลากว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของสุรากลั่นและเบียร์ แต่สถานการณ์ในไทยมีลักษณะแตกต่างจากประเทศที่มีปริมาณการบริโภคใกล้เคียงกันอื่นๆ อยู่อย่างน้อย 3 ประการ คือ มีความชุกของผู้บริโภคต่ำและมีความแตกต่างระหว่างเพศสูง, มีสัดส่วนของการบริโภคสุรากลั่นสูง, และมีปริมาณการบริโภคเฉลี่ยต่อผู้บริโภคสูง เมื่อพิจารณาจากความชุกของผู้บริโภคและความถี่ในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยแล้ว อนุมานได้ว่าการบริโภคต่อครั้ง ( consumption per occasion )คือปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการเพิ่มขึ้นของการบริโภคโดยรวม
ผู้บริโภคไทยสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ได้โดยไม่มีอุปสรรคมากนัก ทั้งด้านสถานที่ ระยะทาง เวลา การจำกัดผู้ซื้อ โดยเฉพาะกลไกทางเศรษฐศาสตร์ เพราะคนไทยมีกำลังการซื้อมากขึ้น ในภาพรวมค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ของครัวเรือนไทยในระหว่าง พ.ศ. 2529 ถึง 2547 เติบโตในอัตราก้าวหน้ามากกว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมและรายรับของครัวเรือน แต่ราคาของสุรากลั่นที่แท้จริงค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาของเบียรืกลับลดต่ำลงในช่วงเวลา พ.ศ. 2533 ถึง 2544 นอกจากนัน้กลยุทธ์ทางการตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ยังเข้มข้นและซับซ้อนมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนันจึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการที่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆข้างต้นเพื่อลดปริมาณการบริโภคและความเสี่ยงเพื่อให้สามารถควบคุมปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ