บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคและปัจจัยที่กำหนดประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย 7 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์ 24 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลของโรงพยาบาลทั้งหมด 74 แห่งในปีพ.ศ. 2552 ขั้นแรกการวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคโดยการวิเคราะห์แบบ Data Envelopment Analysis ผลการวิเคราะห์พบว่ามี 53 โรงพยาบาลจาก 74 โรงพยาบาลที่มีค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคที่แท้จริงสูงสุดคิดเป็น 71.62% ของ โรงพยาบาลทั้งหมดที่ศึกษาเมื่อเรียงลำดับเปอร์เซ็นต์โรงพยาบาลที่มีค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคที่แท้จริงจากมากไปน้อยพบว่าโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยมีค่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพทางเทคนิคที่แท้จริงสูงที่สุดใน 3 กลุ่ม และสูงกว่าโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปตามลำดับ (85.7%, 83.3%, and 62.8%) ในขณะที่เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพทางขนาดเรียงลำดับจากมากไปน้อยพบว่าโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลทั่วไป ตามลำดับ (75.0%, 71.4%, and 44.2%) ขั้นที่สองการศึกษาปัจจัยที่กำหนดประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงพยาบาลทั้ง 3 กลุ่มโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบ ordinary least square estimation พบว่าอัตราส่วนจำนวนเตียงต่อแพทย์จำนวนแพทย์ และอัตราส่วนพยาบาลต่อแพทย์ทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อค่าประสิทธิภาพที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยปัจจัยที่มีผลในทางบวกต่อค่าประสิทธิภาพที่แท้จริงมากที่สุดคืออัตราส่วนจำนวนเตียงต่อแพทย์แต่ปัจจัยที่มีผลในทางลบต่อค่าประสิทธิภาพที่แท้จริงคือ อัตราส่วนพยาบาลต่อแพทย์ในขณะที่ปัจจัยมีผลต่อค่าประสิทธิภาพทางขนาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ จำนวนครั้งของผู้ป่วยในคูณค่ามัธยฐานของน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม
บทคัดย่อ
Input-orientated Data Envelopment Analysis was used to measure the technical efficiency of 7
university hospitals, 24 regional hospitals and 43 general hospitals in Thailand in year 2009. The results
revealed there were 53 efficient hospitals (71.62%) from 74 total hospitals; in addition, the percentages of
efficient hospitalsin order of highest to least percentage were university, regional, and general hospital
(85.7%, 83.3%, and 62.8%).While the percentages of scale efficiency (SE = 1) in order of highest to least
percentage were regional, university, and general hospitals (75.0%, 71.4%, and 44.2%).
The next step was to identify the determinants of hospital efficiency with regression analysis using
ordinary least squares (OLS). The results revealed three significant explanatory variables for TEVRSi scores
such as bed-physician ratio, numbers of physicians, and nurses-physician ratio. The most positive influential
determinant of TEVRS scores was bed-physician ratio; however, the negative influential determinant of
TEVRS scores was nurse-physician ratio. While the significant explanatory variable for scale efficiency (SEi)
scores was the in-patient visits adjusted with median relative weight of DRG