บทคัดย่อ
เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประเมินใช้เป็นแนวทางในการประเมินธรรมาภิบาลการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยในระบบสุขภาพ (สวรส.และเครือสถาบัน) ขณะเดียวกันแนวทางดังกล่าวยังสามารถที่จะช่วยให้หน่วยบริหารจัดการงานวิจัยเอง ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความชัดเจน โปร่งใส มีคุณภาพ มีส่วนร่วม และมีความถูกต้องเป็นธรรม หรือเป็นการทำงานภายใต้ความมีธรรมาภิบาล
คู่มือแนวทางการปฏิบัติการธรรมาภิบาลฯ เล่มนี้ ประกอบด้วย 7 บท ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 หลักการและเหตุผล ในบทนี้จะกล่าวถึงที่มาที่ไปของการจัดทำเอกสารเล่มนี้
บทที่ 2 การทบทวนองค์ความรู้เรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาล ในบทนี้จะเป็นการทบทวนองค์ความรู้ ถึงความหมายและจุดมุ่งหมายของธรรมาภิบาลจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์ความล้มเหลวของการทำธรรมาภิบาลทั้งในและต่างประเทศเพื่อใช้เป็นบทเรียนต่อไป
บทที่ 3 แนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาล เป็นการสรุปถึงหลักธรรมาภิบาลที่นำมาใช้กับขั้นตอนต่างๆของการบริหารจัดการงานวิจัยทำให้ได้ตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัด
บทที่ 4 หลักการธรรมาภิบาล ในบทนี้ได้มีการขยายความหมายและความสำคัญของหลักการธรรมาภิบาลต่างๆที่นำมาใช้กับหน่วยบริการจัดการงานวิจัย
บทที่ 5 ขั้นตอนการบริหารจัดการงานวิจัย ในบทนี้ได้มีการขยายความให้เห็นถึงขั้นตอนต่างๆของการบริหารจัดการงานวิจัย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบถ้วน ซึ่งบางหน่วยงานอาจไม่มีบางขั้นตอนก็ไม่ผิดอะไร ทั้งนี้ขึ้นกับวิธีการจัดการและงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน
บทที่ 6แนวทางการประเมินธรรมภิบาล บทนี้ได้ขยายความถึงตัวชี้วัดทั้ง 30 ตัวชี้วัดว่า แต่ละตัวชี้วัดมีความสำคัญอย่างไร ในการประเมินจะต้องพิจารณาอย่างไร จะทำอย่างไรจึงจะผ่านตัวชี้วัด หลักฐานประกอบการประเมินที่ต้องใช้คืออะไร รวมถึงได้แสดงแบบประเมินคุณภาพและตารางผลการประเมิน
บทที่ 7 ภาพรวมดัชนีชี้วัดและผลการประเมิน บทนี้จะแสดงถึงหลักการในการประเมินตัวชี้วัดแต่ละตัว และตัวอย่างการบันทึกความเห็นต่างๆ ลงในตารางผลการประเมิน และการคิดคะแนนของตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อนำไปคำนวณหาค่าดัชนีธรรมาภิบาลแต่ละตัว และดัชนีการบริหารจัดการงานวิจัยแต่ละขั้นตอน พร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างการประเมินและสรุปผลการประเมินในภาพรวม