บทคัดย่อ
ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทนั้นต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แม้ปัจจุบันมีแพทย์เข้าไปทำงานในชนบททุกปี แต่อัตราแพทย์ลาออกจากชนบทมีประมาณ 11% จึงจำเป็นที่จะต้องมีการค้นหาวิธีที่จะดึงดูดและธำรงรักษาแพทย์ในพื้นที่ชนบท การศึกษานี้ใช้การศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยศึกษาแพทย์จำนวน 255 คนจากพื้นที่ 9 จังหวัด โดยใช้วิธี Discrete Choice Experiment (DCE) เพื่อประเมินการเลือกงาน โดยให้เลือกระหว่างงานในชนบทกับงานในเมือง ซึ่งมีคุณลักษณะของงาน 7 ประเด็น ผลการศึกษาพบว่า มีแพทย์ที่เข้าร่วมการศึกษา 211 คน มีเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย (57.8%) แพทย์ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในเมือง (83%) และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค (63%) สำหรับการเลือกสถานที่ปฏิบัติงาน พบว่าลักษณะงานทั้ง 7 ประการ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแพทย์จบใหม่จะเลือกอยู่ในชนบท หากเป็นสถานที่ที่มีเงินเดือนที่สูง ใกล้ภูมิลำเนา โรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงานนอกเวลาน้อย มีโอกาสในการเรียนต่อเฉพาะทาง และมีแพทย์ที่ปรึกษา ดังนั้นการปรับเปลี่ยนแรงจูงใจด้านการเงินและด้านอื่นๆ สามารถจูงใจแพทย์ให้อยู่ในชนบทได้ และโดยจะต้องมีนโยบายการเพิ่มค่าตอบแทน เพิ่มโอกาสในการเรียนต่อเฉพาะทาง ลดเวลาการทำงานนอกเวลา รวมทั้งเพิ่มการเลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น
บทคัดย่อ
As a crucial component of a health system, the shortage of health workforce could deteriorate health
outcomes. Though newly graduated physicians entering the rural areas every year, the turnover rate of
rural physicians was as high as 11% of rural physicians. It is thus crucial to explore strategies to attract and
retain physicians in rural areas. This study was a cross sectional study with 255 physicians serving in
years 1-3 from 9 provinces included in the sample. Job preference was assessed using the Discrete Choice
Experiment (DCE) method, which involved asking subjects to indicate their preference between 2 hypothetical
jobs, one rural and one urban. Each job was characterized by 7 job attributes. A total of 211 physicians
responded, with females (57.8%) responded slightly more than males. The majority of subjects was
from an urban background (83%), and graduated from a regional university (63%). There were 24% of physicians under the rural recruitment project. In relation to their job preference, all attributes were found
to be statistically significant in determining the decision to choose a job in a rural area. The results showed
that high salaries, workplace close to hometown, small hospital size, less overtime work, opportunities
for specialty training and faster career promotion were important for young physicians to choose rural
posts.
The results suggested that the combinations of salary increase, specialty training opportunities, reduce
overtime work, and accelerated promotions seem to be good policy candidates to attract and retain
physicians to rural areas.