• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลการสังเคราะห์ประเด็นสำคัญความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ พ.ศ.2555

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;
วันที่: 2555
บทคัดย่อ
ความเป็นมาของการศึกษาเรื่องความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพของคนไทย เริ่มต้นจากการเห็นความสำคัญของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในการประเมินระบบสุขภาพในมุมมองของประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการวัดระบบสุขภาพโดยใช้การรับรู้หรือความรู้สึกของประชาชน เพื่อใช้ประกอบการประเมินระบบสุขภาพตามตัวชี้วัดระบบสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลจากมุมมองของประชาชนแทนที่จะเป็นการประเมินจากมุมมองของผู้จัดบริการสุขภาพแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยในการประเมินความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพนั้น เป็นการวัดความเชื่อมั่น ไม่ใช่วัดความพึงพอใจต่อระบบสุขภาพ ดังนั้นประชาชนผู้ประเมินไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ตรง เพียงแต่สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้มา เพื่อประมวลเป็นความรู้สึกเชื่อมั่นต่อประเด็นต่างๆ เท่านั้น ในระยะแรกได้มีการศึกษาและพัฒนาดัชนีความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ โดยได้จัดทำเป็นแบบสอบถามสำหรับการสำรวจความเห็นของประชาชน ในปีพ.ศ. 2553 โดยได้แบ่งประเด็นคำถามออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ระบบการบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค และแบ่งคำถามเป็น 2 ส่วนคือการเปรียบเทียบกับอดีต 6 เดือนที่ผ่านมา และการคาดการณ์อนาคต 6 เดือนข้างหน้า โดยในส่วนของการคาดการณ์อนาคตมีการเพิ่มคำถามเกี่ยวกับธรรมาภิบาลเข้าไปด้วย ผลของการสำรวจครั้งแรกเป็นเครื่องสะท้อนถึงเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นในเชิงเปรียบเทียบว่าดีขึ้นหรือแย่ลง แต่อย่างไรก็ดีจากการสำรวจความเชื่อมั่นในระยะแรก พบว่ายังมีข้อจำกัดหลายประการเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ประเมิน ทั้งในเชิงประเด็นที่ประเมินและในเชิงวิธีการประเมิน โดยในปีพ.ศ. 2554 ได้เริ่มมีการทบทวนและจัดทำเครื่องมือวัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพขึ้นมาใหม่ โดยปรับจากระยะแรก ประกอบกับการระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและการสำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีการปรับมิติที่ใช้ประเมินเป็น 4 มิติ ได้แก่ มิติบริการสุขภาพ มิติส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มิติคุ้มครองผู้บริโภค และมิติธรรมาภิบาลระบบสุขภาพ จากมิติที่ใช้ประเมินทั้ง 4 มิติ มีการจำแนกเป็นประเด็นย่อยในแต่ละมิติ พร้อมจัดทำเป็นแบบสอบถามเพื่อใช้ในการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน โดยคำถามที่ใช้ถามประชาชนจะเป็นการถามความเชื่อมั่นใน ปัจจุบัน โดยไม่เปรียบเทียบกับอดีตและไม่คาดการณ์อนาคต จึงช่วยให้สามารถนำผลการสำรวจที่ได้ ไปเปรียบเทียบในเชิงแนวโน้มได้ เมื่อมีการสำรวจด้วยเครื่องมือเดียวกันนี้ในอนาคต และสามารถนำมาสรุปในรูปของคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละมิติและในภาพรวมได้ ทั้งนี้คะแนนความเชื่อมั่นจะมีค่าตั้งแต่ 1-4 โดยคะแนน 2.5 จะเป็นค่าที่ใช้แบ่งระหว่างเชื่อมั่นกับไม่เชื่อมั่น ในปีพ.ศ. 2555 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้สนับสนุนให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพของประชาชน ซึ่งผลการสำรวจได้มีการนำเสนอและเผยแพร่ไปแล้ว โดยเอกสารฉบับนี้เป็นเพียงการสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจดังกล่าว เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจับใจความสำคัญเพื่อการปรับปรุงแก้ไขระบบสุขภาพให้ประชาชนแต่ละกลุ่มมีความเชื่อมั่นต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1943.pdf
ขนาด: 229.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 86
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV