บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์ระบบราคายาในประเทศไทย วิธีการศึกษาที่ใช้คือการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโดยตรงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเอกสารและทบทวนวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่ากระทรวงสาธารณสุขเน้นกลไกการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาในภาครัฐ โดยการควบคุมราคายาเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งต้องมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยกำหนดให้ผลกระทบทางงบประมาณเป็นเกณฑ์หนึ่งของการพิจารณาคัดเลือกยาใดๆเข้าบัญชีฯ หลังจากนั้นมีการกำหนดราคากลางสำหรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีกลไกควบคุมราคาในขั้นตอนการจัดซื้อยาของหน่วยงานทุกระดับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ และการต่อรองราคายาบัญชี จ.2 และยากำพร้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีจำนวนรายการยาที่ต่อรองค่อนข้างจำกัด สำหรับการดำเนินการจัดซื้อร่วมในระดับจังหวัดและระดับเขต ยังดำเนินการไม่เต็มที่
ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบและไม่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคายาก่อนการขึ้นทะเบียนยา ยังไม่มีกฎหมายหรือระบบควบคุมกำไรในภาคเอกชน มีเพียงการควบคุมไม่ให้จำหน่ายเกินราคาที่ระบุโดยผู้ผลิต ในส่วนของการติดตามราคายามีเพียงระบบข้อมูลราคายาที่จัดซื้อของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ซึ่งเป็นการรายงานแบบสมัครใจของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
สิ่งที่ควรดำเนินการเพื่อควบคุมราคายาคือ มีข้อกำหนดให้บริษัทยาแจ้งโครงสร้างต้นทุนยาเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการพิจารณายาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ จัดการความรู้เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการจัดซื้อและต่อรองราคายา ขยายรายการที่ต่อรองโดยส่วนกลางร่วมกันระหว่าง ๓ กองทุน ปรับปรุงการดำเนินการราคากลางและระบบติดตามราคายา และศึกษาผลกระทบของการควบคุมราคายาต่ออุตสาหกรรมยาในประเทศ
บทคัดย่อ
This study focused on a review of the national system for drug price policy. Methods including
interviewing key persons in various organizations, meetings with experts, studying related documents
and literatures, were used. The study revealed that Ministry of Public Health (MOPH hospitals) had several
indirect drug price control mechanisms for government sector especially for the MOPH hospitals themselves. Drug price control has been started in the process of national essential drug list (ED) selection.
Cost effectiveness and budget impact analyses were parts of the consideration criteria. After drugs
were selected as the ED, median price would be set as the price control measure for procurement process
of MOPH hospitals. In addition, central negotiation was used for controlling price of single source nonessential
drugs in MOPH hospitals. National Health Security Office takes the leading role in price negotiating
of high cost ED to ensure accessibility for their beneficiaries. However, limited items were negotiated
in each year. Group purchasing in level of provinces and regions was not much expanded from the
past.
There exists no autonomous body and no regulation for controlling of manufacturer price setting
before drug registration processes. No regulation and system for controlling mark up in private sector
have been implemented. Selling price was controlled to not more than price list. For drug price monitoring,
only voluntary reporting of MOPH hospital purchasing price was available under the Drug and
Medical Supply Information Center (DMSIC).
As the ways to improve drug price control system in Thailand, manufacturer production cost structure
should be submitted as the condition for national essential drug list consideration. In terms of negotiation,
knowledge management of negotiation and purchasing strategies, expanding of items for central
negotiation for all three health insurance schemes are encouraged. Drug price setting for procurement
and a monitoring system should be improved. Moreover, a study on adverse effects of drug price control
system on domestic pharmaceutical industries is necessary.