• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

คุณภาพการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก: ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล 18 แฟ้มมาตรฐานของโรงพยาบาล

อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา; ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช; อรอนงค์ วลีขจรเลิศ; พิมประภา กิจวิธี; รัชตะ อุลมาน; วราภรณ์ สายสุนันทรารมย์; สมชาย สุริยะไกร; จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์; Areewan Cheawchanwattana; Onanong Waleekhachonloet; Thananan Rattanachotphanit; Pimprapa Kitwitee; Ratchata Unlamarn; Waraporn Saisunantararom; Somchai Suriyakrai; Chulaporn Limwattananon;
วันที่: 2555-06
บทคัดย่อ
การสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล จะช่วยให้เกิดสมดุลทางการเงินการคลังด้านสุขภาพ ในปัจจุบันโรงพยาบาลบันทึกข้อมูลการสั่งใช้ยาแก่ผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐาน การวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณภาพการสั่งใช้ยายังมีอยู่จำกัด จึงได้มีการจัดทำชุดคำสั่งสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกจาก 18 แฟ้มมาตรฐานด้วยโปรแกรม SQL และจัดอบรมให้แก่เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานตนเองได้ มีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 134 แห่ง ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 3 วัน รายงานวิจัยฉบับนี้จะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งใช้ยาในปีงบประมาณ 2553 ของ 88 โรงพยาบาลที่เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการประเมินคุณภาพการสั่งใช้ยาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่น และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพ โดยนำเสนอคุณภาพการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอกใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (2) การสั่งใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคหืด และ (3) การสั่งใช้ยาลดความดันโลหิต angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs) หรือangiotensin II receptor blockers (ARBs) และการสั่งใช้ยาลดไขมัน statins ในผู้ป่วยเบาหวาน ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลมากกว่าครึ่งมีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในหวัดเจ็บคอ และใช้ยากลุ่มควิโนโลนในท้องเสียไม่ติดเชื้อเกินกว่าร้อยละ 50 สำหรับการสั่งใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคหืดและการสั่งใช้ยา ACEIs/ARBs และ statins ในผู้ป่วยเบาหวานนั้น พบว่ามีการสั่งใช้ในระดับปานกลาง แต่พบความแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลค่อนข้างมาก ดังนั้นทุกโรงพยาบาลควรดำเนินการส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสะท้อนกลับสำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการสั่งใช้ยาต่อไป อย่างน้อยที่สุดในโรคที่ได้รายงานในครั้งนี้

บทคัดย่อ
Rational drug use would lead to sustain health care financing. Currently, most hospitals have prescribing data recorded in standard electronic databases. However, an analysis of these electronic data-bases providing a performance feedback on quality of prescribing is limited. The analysis algorithms to assess prescribing indicators for 18 standard files on out-patient services using SQL program were developed. Pharmacists and computer staff from 134 hospitals voluntarily attended the 3-day training sessions. We reported the results of analyses of fiscal year 2553 data of the 88 attending hospitals. The information presented could be used to guide not only health care settings, but also health policy makers, in terms of rational antibiotic prescribing for common cold and diarrhea, inhaled coticostroid (ICS) prescribing for asthma patients, and angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs), angiotensin II receptor blockers (ARBs), and statins prescribing for diabetes patients. More than half of hospitals had greater than 50% of oral antibiotic prescriptions in common cold, and quinolones prescriptions in non-infected diarrhea. ICS prescriptions in asthma patients, and ACEIs/ ARBs and statins in diabetes patients were moderately prescribed. However for the latter two conditions high variations across hospitals were found. The findings urge that all hospitals should promote analysis of the hospital electronic database to obtain the feedback information, which in turn can guide the implementation of activities to increase quality of prescribing, at least for the reported conditions.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v6n2 ...
ขนาด: 306.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 5
ปีงบประมาณนี้: 147
ปีพุทธศักราชนี้: 79
รวมทั้งหมด: 1,683
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV