บทคัดย่อ
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สำคัญประการหนึ่ง โดยในปัจจุบันได้มีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยามากมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่และการเกิดโรค ซึ่งสำหรับโรคมะเร็งปอด ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจกับการสูบบุหรี่ โดยสังเคราะห์ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์รวมและเปรียบเทียบค่าความเสี่ยงที่ได้จากการศึกษาในแต่ละภูมิภาค เริ่มจากการศึกษาทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) ซึ่งมีการระบุคำสำคัญที่เกี่ยวข้องและพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกก่อนการสืบค้น เพื่อลดการมีอคติและเพื่อให้การศึกษาทบทวนนี้มีความครอบคลุม จากการใช้คำสำคัญในการสืบค้น เบื้องต้นพบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองระหว่างปีพ.ศ. 2537-2554 ทั้งหมด 881 และ 727 เรื่องตามลำดับ และผ่านเกณฑ์การคัดเลือก 14 และ 20 เรื่องตามลำดับ เมื่อนำเอาการศึกษาทั้งหมดไปวิเคราะห์เชิงอนุมาน (Meta-Analysis) พบว่าค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดจากบุหรี่เท่ากับ 2.14 (1.76-2.60) และ 2.84 (1.90-4.24) ในชายและหญิงตามลำดับ และค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากบุหรี่เท่ากับ 1.66 (1.43-1.93) และ 2.18 (1.67-2.85) ในชายและหญิงตามลำดับ ในการวิเคราะห์เชิงอนุมานสำหรับกลุ่มการศึกษาในเอเชีย พบว่าค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจจากการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนเอเชียเท่ากับ 2.15 (1.69-2.75) และ 1.99 (1.18-3.34) ในชายและหญิงตามลำดับ และค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของโรคหลอดเลือดสมองจากการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนเอเชียเท่ากับ 1.31 (1.19-1.44) และ 1.60 (1.25-2.04) ในชายและหญิงตามลำดับ การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่โดยแสดงความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตาม ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของกลุ่มคนเอเชียที่ไม่สูงมากนัก มิได้หมายความว่าบุหรี่มีพิษภัยกับคนกลุ่มนี้น้อยกว่า แต่น่าจะเกิดจากการที่ประชากรมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วย เช่น ภาวะความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ซึ่งการเข้าถึงบริการทางการแพทย์เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อาจเป็นปัญหาในประเทศกำลังพัฒนา
บทคัดย่อ
Cigarette smoking is one of the most important causes of chronic diseases and immature deaths
globally which has led to numerous epidemiological studies conducted to identify the association between
smoking and various types of diseases. The objectives of this study are systematically review existing
epidemiological literature on cardiovascular risk from smoking and to synthesize a pooled relative
risks based on meta-analysis of those literature. Review protocol has been developed to identify relevant
and comprehensive keywords and to ensure appropriate inclusion/exclusion criteria are applied without
bias.
Between 1994- 2011, 881 and 272 papers have been identified from the literature search for ischaemic
heart diseases (IHD) and cerebrovascular diseases (CVD) respectively. This was later reduced to 14 for
IHD and 20 for CVD. When meta- analysis was performed, it was found that the relative risk of developing
IHD from smoking was 2.14 (1.76-2.60) for men and 2.84 (1.90-4.24) for women, while for CVD, it was
1.66 (1.43-1.93) for men and 2.18 (1.67-2.85) for women. For sub-group analysis, it was found that for Asian
population, the relative risk of developing IHD was 2.15 (1.69-2.75) for men and 1.99 (1.18-3.34) for women,
and for CVD, it was 1.31 (1.19-1.44) for men and 1.60 (1.25-2.04) for women.
This study has confirmed the harm from smoking and the association between smoking and cardiovascular
morbidity. The fact that relative risk in Asian population is relatively lower compared to the rest
of the World does not imply that there is less harm from cigarette smoking in this population but may
occur as a result of significant presence of other risk factors, such as quality and access to medical treatment
for hypertension and dyslipidaemia, within the population.