• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความรู้พื้นฐานด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

อุบลรัตน์ นฤพนร์จิรกุล;
วันที่: 2555-06
บทคัดย่อ
กระทรวงสาธารณสุขรับนโยบายจากรัฐบาล เมื่อปี พ.ศ. 2552 ให้ปรับปรุงระบบบริการสุขภาพของภาครัฐทุกระดับให้ได้มาตรฐาน โดยยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เนื่องจากเป็นนโยบายที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยตรง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้สนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนนโยบายโดยผ่านโครงการแผนงานการสนับสนุนกลไกการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการขับเคลื่อนนโยบายได้ใช้กลวิธีดำเนินการหลายทาง การสังเคราะห์และพัฒนาชุดความรู้หรือคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นวิธีการหนึ่งในปีที่ผ่านมา จึงได้ผลิตคู่มือ จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (กรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง) แนวทางการดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าและผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย แนวทางการดูแลสุขภาพวัยรุ่น ประสบการณ์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ และแนวปฏิบัติในการบริการผู้สูงอายุ ซึ่งได้แจกจ่ายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงไปแล้วนั้น หนังสือเล่มนี้เป็นชุดความรู้ต่อเนื่องจากเดิม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เขียนโดยผู้ปฏิบัติงานจากประสบการณ์ตรงที่ได้นำไปปฏิบัติและสังเคราะห์เป็นความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานซึ่งได้พัฒนาคุณภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงการทำงานให้เปลี่ยนไปจากเดิม ปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้เป็นผู้จัดการสุขภาพ แทนที่จะต้องเป็นผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียว ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเอง นอกจากนั้น ยังเป็นไปตามหลักการขั้นพื้นฐานของการมีสิทธิในการเข้าถึงการบริการสุขภาพของประชาชน ต่อมาเมื่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยได้มีนโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ 4.3.1 การลงทุนด้านบริการสุขภาพ ที่ให้ความสำคัญต่อ “การพัฒนาสถานบริการปฐมภูมิในเขตเมืองและชนบทที่สมบูรณ์แบบทั่วประเทศ” นอกจากนี้นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังได้เน้นย้ำความสำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โดยสนับสนุนให้มีการดูแลเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เน้นการให้การบริการเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพ ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สิ่งเหล่านี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเบื้องต้นของประชาชน และในระยะยาวจะพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1961.pdf
ขนาด: 2.218Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 11
ปีพุทธศักราชนี้: 6
รวมทั้งหมด: 527
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Documents/Pocket Books [625]

    เอกสารเผยแพร่/พ็อกเกตบุ๊ก


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV