dc.contributor.author | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.contributor.author | National Health Security Office | en_US |
dc.contributor.author | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Health Systems Research Institute | en_US |
dc.contributor.editor | สุรจิต สุนทรธรรม | en_US |
dc.contributor.editor | พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข | en_US |
dc.contributor.editor | บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ | en_US |
dc.contributor.editor | สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ | en_US |
dc.contributor.editor | จเด็จ ธรรมธัชอารี | en_US |
dc.contributor.editor | สิรินาฏ นิภาพร | en_US |
dc.contributor.editor | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2012-10-25T03:49:49Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T17:03:05Z | |
dc.date.available | 2012-10-25T03:49:49Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T17:03:05Z | |
dc.date.issued | 2555 | en_US |
dc.identifier.isbn | 9786163054289 | en_US |
dc.identifier.other | hs1986 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3691 | en_US |
dc.description.abstract | เมื่อปี พ.ศ. 2544 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้จัดพิมพ์หนังสือ “ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย” ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดประชุมสัมมนานานาชาติครั้งที่ 8 ว่าด้วยการพัฒนาประกันสุขภาพและการนำไปปฏิบัติในเอเชีย (the 8th International Seminar on Health Insurance Development and Implementation in Asian Countries) ระหว่างวันที่ 16-20 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย โดยการสนับสนุนของมูลนิธิเยอรมันเพื่อการพัฒนานานาชาติ (DSE) และใช้กรณีศึกษาระบบประกันสุขภาพต่างๆ ที่มีในประเทศไทย มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนาซึ่งมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้วได้มีความเห็นพ้องกันว่า ควรมีจัดพิมพ์หนังสือในเรื่องดังกล่าวขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพของไทยต่อไป ในการจัดพิมพ์ครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิเยอรมันเพื่อการพัฒนานานาชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผ่านมาหนึ่งทศวรรษพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยมากมาย เริ่มจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภายใต้ชื่อโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” เป็นผลให้มีการตรากฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใน พ.ศ. 2545 และมีการจัดตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขึ้นเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อจัดการให้มีระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทั้งประเทศ และให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานด้วยกันทุกคน การมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสาธารณสุขไทยหลายประการ เช่น มีการแยกบทบาทระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่ซื้อบริการและให้บริการ การปฏิรูปวิธีการจัดสรรงบประมาณและการจ่ายค่าบริการแก่หน่วยบริการต่างๆ โดยใช้ระบบงบประมาณและการจ่ายแบบปลายปิด (เหมาจ่ายรายหัวสำหรับบริการผู้ป่วยนอก และใช้น้ำหนักสัมพัทธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ในการจัดสรรงบประมาณยอดรวมสำหรับบริการผู้ป่วยใน) รวมทั้งยังมีนวัตกรรมการบริหารจัดซื้อบริการต่างๆ เกิดขึ้น เช่น การจัดการรายโรค การพัฒนาระบบบริการ การมีกองทุนสุขภาพตำบล. นอกจากนั้น ในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการก็ได้มีการปฏิรูประบบการจ่ายค่าบริการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเช่นกัน โดยเปลี่ยนการจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในจากตามรายบริการ มาเป็นการจ่ายตามรายป่วยโดยใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม และนำระบบการเบิกจ่ายตรงมาใช้สำหรับบริการผู้ป่วยนอกโดยผู้ป่วยไม่ต้องทดรองจ่ายค่าบริการไปก่อน การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบทั้งเป็นโอกาสและอุปสรรคต่อระบบสุขภาพและสังคมไทยอย่างมากมาย จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบประกันสุขภาพและระบบบริการสาธารณสุขไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงเห็นสมควรต้องมีการทบทวนและจัดทำหนังสือ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย” ขึ้นมาอีกครั้งเพื่อปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ให้ทันสมัย รวมทั้งทบทวนและบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบประกันสุขภาพและระบบบริการสาธารณสุขไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการสืบค้นและอ้างอิงต่อไป สปสช. จึงได้สนับสนุนทุนในการจัดทำต้นฉบับร่วมกับทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยมีสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เป็นผู้บริหารจัดการในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ โดยมีการระดมนักวิชาการจากองค์กรต่างๆ (เช่น หน่วยงานวิจัย, มหาวิทยาลัย, กองทุนประกันสุขภาพต่างๆ) มาช่วยกันเรียบเรียงบทปริทรรศน์ หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 5 ตอนด้วยกัน ตอนแรกว่าด้วยหลักการ แนวคิด และทฤษฏี เริ่มด้วยแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพ (health security) และระบบประกันสุขภาพ (health insurance) ตามด้วยสถานการณ์ก่อนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย ตอนที่ 2 ว่าด้วยระบบประกันสุขภาพหลักของประเทศไทย เริ่มจากมองภาพรวมของระบบตามด้วยระบบประกันสุขภาพหลักทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตอนที่ 3 ว่าด้วยรูปแบบวิธีบริหารจัดการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่ใช้กันในระบบประกันสุขภาพ ได้แก่ การจ่ายตามรายบริการ การจ่ายตามรายป่วย และการจ่ายตามรายหัวประชากร ตอนที่ 4 ว่าด้วยการพัฒนาระบบบริการและนวัตกรรมในระบบประกันสุขภาพ ได้แก่ การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการจัดการรายโรค ส่วนตอนสุดท้ายว่าด้วยผลกระทบของการประกันสุขภาพต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม การคลังภาครัฐ รวมถึงความสำเร็จและความท้าทายในการพัฒนาในระยะต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | ระบบหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.type | Document | en_US |
dc.identifier.callno | W160 ร228 2555 | en_US |
dc.subject.keyword | ประกันสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
.custom.citation | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, National Health Security Office, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข and Health Systems Research Institute. "ระบบหลักประกันสุขภาพไทย." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3691">http://hdl.handle.net/11228/3691</a>. | |
.custom.total_download | 3187 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 67 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 16 | |