บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: การเพิ่มขีดความสามารถเป็นขบวนการที่มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถที่จะนำทักษะและความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในหน่วยงานที่สังกัดและสามารถประเมินได้ว่าหน่วยงานของตนจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานหรือไม่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกลุ่มเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและเครือข่ายสถาบันในระดับภาคและหน่วยงานอื่นในพื้นที่ที่ดำเนินการด้านการควบคุม กำกับและประเมินผล และ 2) พัฒนารูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถ (Capacity building) ขององค์กรเครือข่ายสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นด้านการดำเนินการควบคุม กำกับและประเมินผล ระเบียบวิธีการวิจัย: ขั้นตอนแรกเป็นการสร้างกลุ่มเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายของสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และเครือข่ายในท้องถิ่นที่ทำงานด้านการดำเนินการควบคุม กำกับและประเมินผล การคัดเลือกผู้เข้าร่วมเครือข่ายมีกระบวนการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือก ขั้นตอนที่สองเป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถประกอบด้วย 1). การระบุขีดความสามารถทั่วไปและขีดความสามารถเฉพาะ(Identify general and specific capacity)ของเครือข่ายที่เข้าร่วมการศึกษา การศึกษานี้ใช้รูปแบบการหาช่องว่างในปัจจุบันโดยเปรียบเทียบผลการทำงานกับเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ แล้วหาวิธีการและกระบวนการที่จะลดช่องว่าง 2). การถ่ายทอดความรู้(Knowledge transfer) และ 3). การควบคุมและการสอนงาน(Coaching and mentoring) ผลการศึกษา: จากการดำเนินการทำให้เกิดกลุ่มเครือข่ายระหว่าง 1). เครือข่ายสถาบันการศึกษาในส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นสถาบันสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถ 2). เครือข่ายสถาบันการศึกษาในส่วนภูมิภาค และ 3). เครือข่ายการทำงานที่เป็นส่วนราชการ องค์กรเอกชน และอาสาสมัครแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดกระบวนการการพัฒนารูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรเครือข่ายด้านการดำเนินการควบคุม กำกับและประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย 1). การระบุขีดความสามารถทั่วไปและขีดความสามารถเฉพาะ 2). เกิดการถ่ายทอดความรู้ 3). มีการควบคุมและการสอนงาน สรุปและข้อเสนอแนะ: จากการดำเนินงานทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน และการพัฒนารูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรเครือข่ายสถาบันการศึกษาในทุกระดับ ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือทั้งด้านการทำงาน ด้านวิชาการในรูปเครือข่าย ที่แต่เดิมต่างฝ่ายต่างทำงาน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันภายใต้รูปแบบการเพิ่มขีดความสามารถที่ได้จากการศึกษานี้ และให้สถาบันการศึกษาระดับภูมิภาคมีบทบาทเป็นสถาบันหลักในการใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตามกรอบการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อเสริมพลังอำนาจเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
บทคัดย่อ
Background: Capability building is a process of increasing knowledge and capacity of personnel to
accomplish their works in the organization and be able to evaluate the acceptance of their organization on
change for capacity building. The objectives of this study were 1) Create network among academic institutions
in Central and Regional area and local organizations and 2) Develop capacity building model for
organizations working on monitoring and evaluation. Research Methodology: Process of capacity building
started with creation of collaborative network among academic institutions in Central and Regional
area and local organizations that were working on monitoring and evaluation. The selection of network
members followed the study inclusion criteria. The development of capacity building model included
1) Identification of general and specific capacity, finding the gap (by comparing the existing situation
with the expected goal) and find solution for the gap, 2) Knowledge transfer and 3) Coaching and mentoring.
Results: Collaborative networks had been established among 1) Central academic institutions that wer
supporting institution on capacity building, 2) Regional academic institutions and 3) Network of GO,
NGO and leader of the volunteers in local area. The development of capacity building model was established
among the collaborative institutions working on monitoring and evaluation using 1) Identification
of general and specific capacity, 2) Knowledge transfer and 3) Coaching and Mentoring. Conclusions and
Recommendations: From the creation of collaborative and development of capacity building model among
academic institutions in all levels, the network on works and academics had been built under this model
for increasing capacity and sustainability. For the sustainability, the regional academic institution would
be the active institution for applying knowledge and experience on the capacity building model in the
future