บทคัดย่อ
ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ภาครัฐในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จำนวนแพทย์ที่ลาออกมีเพิ่มขึ้นทุกปี การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยด้านการเงินและค่าตอบแทนเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของแพทย์ในรพช. ภายหลังจากกระทรวงสาธารณสุขได้ออกหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่รพช. ทำให้มีแพทย์บรรจุกลับ รับโอน เข้ามารับราชการในรพช.เพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเห็นของแพทย์ต่อมาตรการด้านการเงินและความก้าวหน้าในวิชาชีพต่อการคงอยู่ของแพทย์ในรพช. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังแพทย์ที่ปฏิบัติงานในรพช.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั่วทุกภูมิภาค จำนวน 720 แห่ง ระหว่างวันที่ 1-31 มกราคม 2554 ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างตอบกลับแบบสอบถามคิดเป็นร้อยละ 38.52 ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 66.59 อายุเฉลี่ย 35.92 ปี สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 50.00 ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ใช้ทุนที่ปฏิบัติงาน เฉลี่ย 1-3 ปี คิดเป็นร้อยละ35.22 และทำงานในรพช.ขนาด 30 เตียง เป็นจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 52.64 แพทย์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อผลของมาตรการด้านการเงินคือการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ส่งผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ในรพช.และมีผลทำให้อยู่ในรพช.นานขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มแพทย์ที่ไม่มีแผนการย้ายออก มีแนวโน้มที่จะอยู่ รพช.นานขึ้นร้อยละ 88.00 แพทย์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.51ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการยกเลิกเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ส่วนมาตรการด้านความก้าวหน้าของวิชาชีพ ส่งผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ในรพช. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยแพทย์ทั้งกลุ่มที่ไม่มีแผนการย้ายออกและกลุ่มที่มีแผนย้ายออก ต่างมีความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในตำแหน่งนายแพทย์ระดับเชี่ยวชาญ ถึงร้อยละ 70.95 และ 70.87 ตามลำดับ ปัจจัยเรื่องมาตรการปรับอัตราค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้กับแพทย์ในรพช. และปัจจัยเรื่องความก้าวหน้าในวิชาชีพของแพทย์ในรพช.ที่สามารถก้าวหน้าได้ถึงระดับเชี่ยวชาญ มีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ในรพช.
บทคัดย่อ
Shortage of physicians in rural areas was one of main problem in Thailand. Previous studies found
that there were several factors which related to the existence of a doctor in the community hospitals. The
major factor was financial issue. Thai government has launched special incentive money and professional
opportunity strategies to rural doctors since 2008. After these motivated strategies, the recruitment of physician had been rising in community hospitals. The purpose of study was to evaluate the opinion of
general practitioners on incentive money and professional opportunity strategies to the retention of
physicains in community hospitals. This was cross sectional descriptive study of the physicians in the
community hospitals nationwide covering 720 hospitals. Mail questionnaires were distributed and collected
data between 1st to 31st January 2011. Data were analyzed by SPSS-PC version 11.5 by reporting as
descriptive statistics such as frequency, percentage, average, and standard deviation including analytic
statistics with Chi-square and binary logistic regression. The results revealed that response rate was 38.52%.
Most of physicians were male 66.59%; average age was 35.92 years old. A 30 bed-sized community hospital
was the most current work place 52.64. The opinion of responders to incentive money and professional
opportunity strategies revealed that this financial strategy with incentive money related to the retention
of physicians and influenced longer duration of working up to 88.00%. There were 71.15% of physicians
that strongly disagreed to the exception of this incentive money. Moreover, professional opportunity
strategy directly affected physicians with high satisfaction rate 70.95%. This study demonstrated the
financial strategy such incentive money and professional opportunity strategy were the major factors that
related to the retention of physicians in community hospitals. These motivation strategies should be considered
and applied to human resource policy.