• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคลของหน่วยบริการสุขภาพในจังหวัดพิษณุโลก : ด้วยวิธีต้นทุนจุลภาพ

อรทัย เขียวเจริญ; ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย; บุญเติม ตันสุรัตน์; ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร;
วันที่: 2555-07
บทคัดย่อ
วิธีการจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการเป็นเครื่องมือสําคัญในการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกนํามาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการจ่ายเงินไม่ว่าในรูปแบบใดหากออกแบบให้เหมาะสมย่อมนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ ความเท่าเทียมของระบบบริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ เพราะรูปแบบการจ่ายเงินที่แตกต่างกันส่งผลให้เกิดพฤติกรรมของสถานบริการแตกต่างกันออกไป วิธีการจ่ายเงินที่ดีควรอยู่บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบระหว่างทรัพยากรที่จ่ายไปกับสิ่งที่ได้มา ในด้านสุขภาพสิ่งที่ได้มาคือการที่ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นในขณะที่สิ่งที่จ่ายไปคือจํานวนเงินและเวลา ซึ่งอาจแสดงออกมาให้เห็นในรูปของต้นทุน หากงบประมาณที่จ่ายให้กับหน่วยบริการน้อยกว่าต้นทุนของการให้บริการสุขภาพ หน่วยบริการก็ไม่สามารถจัดบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการและจําเป็นได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง การศึกษาต้นทุนบริการสุขภาพของประเทศไทย มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง แต่ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนแบบค่าเฉลี่ย เช่น ต้นทุนต่อวันนอน ต้นทุนต่อการนอนโรงพยาบาล ต้นทุนต่อการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก 1 ครั้งฯลฯ ซึ่งไม่สามารถบอกความแตกต่างตามความรุนแรงของโรค และรายสิทธิการรักษาตามหลักประกันสุขภาพได้ อย่างไรก็ตามการคํานวณต้นทุนบริการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะนอกจากความหลากหลายของโครงสร้างของหน่วยบริการ ความหลากหลายและความซับซ้อนของโรค และคุณลักษณะของผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนบริการโดยตรงแล้ว การคํานวณต้นทุนต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดถึงต้นทุนบริการที่ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับ นอกจากนี้ต้นทุนเป็นตัวแปรตามที่สําคัญของการจัดกลุ่มผู้ป่วยเช่นกลุ่มโรควินิจฉัยโรคร่วมที่ต้องจัดกลุ่มผู้ป่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกและใช้ทรัพยากรในการรักษาใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากข้อมูลของผู้ป่วยรายบุคคลจํานวนมาก ฉะนั้นการเลือกวิธีการคํานวณต้นทุนที่เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะการใช้ประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่สําคัญ จังหวัดพิษณุโลก มีหน่วยบริการสุขภาพ ในสังกัดประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย1 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 2 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่งโรงพยาบาลชุมชน รวม 8 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลจํานวน 143 แห่ง สถานีอนามัย 2 แห่ง ปัจจุบันระบบข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการของประเทศไทยรวมทั้งหน่วยบริการของจังหวัดพิษณุโลกมีการพัฒนาไปอย่างมาก อาทิ ฐานข้อมูลการออกบัตร ฐานข้อมูลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรายบุคคล ที่ทุกสถานพยาบาลต้องรายงานเพื่อเรียกเก็บค่าบริการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม ข้อมูลการเงินในระบบเกณฑ์คงค้าง แต่ข้อมูลต้นทุนรายบุคคลยังไม่มีระบบที่ดีพอ ขาดการนําข้อมูลมาวิเคราะห์ อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่นความจํากัดเรื่องเวลา บุคลากร และงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งคล้ายกับการจัดการข้อมูลต้นทุนระดับ ผู้ป่วยในระยะแรกของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งระยะแรกมีการทําข้อมูลบัญชีต้นทุนเพื่อรายงานสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือตามคําสั่งกระทรวง ต่อมาค่อยๆ พัฒนามาใช้ในการคํานวณสถานการณ์การเงิน จนเป็นข้อมูลต้นทุนรายบุคคลที่นํามาหาต้นทุนต่อ RWa ได้อย่างเป็นระบบ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อให้ได้ต้นทุนบริการที่แท้จริงในระดับผู้ป่วยแต่ละรายสําหรับบริการสุขภาพของหน่วยบริการในจังหวัดพิษณุโลก
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1994.pdf
ขนาด: 4.231Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 163
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV