บทคัดย่อ
การใช้สารเสพติดในชุมชนเป็นปัญหาทางสังคมในปัจจุบันที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นก่อผลกระทบทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ การป้องกันและการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจนำไปสู่ปัญหาทางสังคมตามมาอีกมากมาย ฉะนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการต่อสู้กับปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและรูปแบบวิธีการเพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมปัญหาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ปกครองและเยาวชน ในพื้นที่หมู่ที่ 5,9 และ 11 ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย รวม 150 คน ทีมวิจัยร่วมกับชุมชนวิเคราะห์สภาพปัญหาแบบมีส่วนร่วม (AIC) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ ตุลาคม 2543 ถึงกุมภาพันธ์ 2545 การศึกษาสภาพปัญหาการติดสารเสพติดของหมู่บ้านที่ศึกษาพบมีผู้ติดสารเสพติด 40 ราย มีการจำหน่ายยาบ้าในชุมชนทั้ง 3 แห่ง ชุมชนทั้ง 3 แห่ง ได้สร้างมาตรการและกฎระเบียบหมู่บ้านโดยผ่านการประชุมของหมู่บ้าน เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมปัญหาสารเสพติด ภายหลังการดำเนินงานแก้ไขตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง พบสภาพปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านทั้ง 3 แห่งลดลงอย่างมาก การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เข้มแข็งและกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของสารเสพติดในชุมชน
บทคัดย่อ
The problem of substance addiction in communities is still a serious and increasing
social problem. It has a great impact on families, communities, society and the country.
Inefficient means for prevention and control of this problem will shortly lead to substan-tial social complications in communities. Therefore, the participation of the community
in coping with widespread substance addiction is crucial.
The objectives of this participatory action research study were to explore the situation of addictive substance abuse and develop a model for prevention and control by
emphasizing community involvement. One hundred and fifty villagers, who were community leaders, health volunteers, guardians, and youths living in villages 5, 9, and 11 of
Patan, Khuntan district, Chiang Rai Province, participated in the research activities. The
researchers and the community groups analyzed problems and determined solutions by
using the AIC-technique. They collected information by using the participatory observation method and focus group discussion technique. The study was conducted between
October 2001 and February 2002.
The result of the study revealed that there were 40 drug users in these villages. The
sources of substance distribution were identified in all three villages. Community regulations for the prevention and control of addictive substance abuse were established through
village consultative meetings. After the regulations were implemented continuously, the
scale of substance addiction became dramatically more limited in these three villages.
Local organizations played a very important role in minimizing these social problems.
However, community participation needs to be strengthened and continued in order to
sustain the success of substance control in these villages.