บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยวิธีระคน เพื่อศึกษาอุบัติการ รูปแบบ ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับทารุณกรรมการละเลยทอดทิ้งเด็ก และพฤติกรรมเสี่ยงการถูกกระทำของเด็ก ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ทั้งหมด 13 หมู่บ้าน สุ่มโดยการจับสลากมา 4 หมู่บ้าน ประชากรที่ศึกษาเป็นเด็กจำนวน 531 คน อายุ 0-18 ปี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 กันยายน 2548 ถึง 30 มิถุนายน 2550 ใช้แบบสัมภาษณ์เด็ก พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก โดยผู้ช่วยนักวิจัยที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วเข้าไปฝังตัวในชุมชนปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวัง ค้นหาอุบัติการณ์และพฤติกรรมเสี่ยง แล้วรายงานให้นักวิจัยเข้าไปสัมภาษณ์เจาะลึกและสังเกตุการณ์การถูกกระทำจากเด็ก พ่อแม่ หรือผู้ดูแล เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การศึกษาพบว่า เด็กถูกทารุณกรรมละเลยทอดทิ้ง จำนวน 161 คน (ร้อยละ 30.3) รูปแบบที่พบมากที่สุดคือการทารุณกรรมทางร่างกาย ร้อยละ 42.2 รองลงมา เป็นการทารุณกรรมทางจิตใจร้อยละ 41.6 การละเลยทอดทิ้งร้อยละ 12.5 และการทารุณกรรมทางเพศ ร้อยละ 3.7 เด็กส่วนใหญ่ถูกกระทำมากกว่า 1 รูปแบบ (ร้อยละ 57.1) กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดอายุ 5-12 ปี (ร้อยละ 44.7) พฤติกรรมเสี่ยงของเด็กที่ถูกกระทำทั้ง 7 ด้าน พบมากที่สุดด้านการพนัน สารเสพติด (ร้อยละ 32.7) รองลงมาเป็นด้านอารมณ์ การทำหน้าที่ การแสดงออกร้อยละ 26.4 ด้านสังคมร้อยละ 21.5 ด้านเพศร้อยละ 19.6 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมละเลยทอดทิ้งเด็ก ด้านผู้ปกครอง ได้แก่ 1. ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ได้แก่ ดื่มเหล้า เล่นการพนัน 2. ด้านเศรษฐกิจ พบฐานะปานกลาง และยากจน 3. สัมพันธภาพในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้ง ทุบตีกัน พบมากในครอบครัวที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาใกล้ชิดเด็ก เพราะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ส่วนด้านตัวเด็กมีปัจจัยเกี่ยวข้อง ได้แก่ ชอบเที่ยว คบเพื่อนต่างเพศ ขี้เกียจ ไม่รับผิดชอบ เรียนไม่เก่ง
บทคัดย่อ
The objectives of this mixed method study were to investigate the incidence, patterns and risk factors related to abused and neglected children aged 0-18 years in the
catchment area of Nam Phong Hospital, Nam Phong district, Khon Kaen Province. Of the
13 villages, in the area, four were randomly selected. Five hundred and thirty-one children participated. Data were collected during the period from September 1, 2005 to June
30, 2007 by well-trained research assistants, using questionnaires for children and parents or child- caregivers. They were living in the village in order to conduct surveillance
and report the incidence of abuse and neglect as well as risk behaviors. In that connection, the identified cases, parents or child-caregivers, neighbors and village leaders were
interviewed indepth and observed by the researchers. Quantitative data were described
as percentages and means. Content analysis was employed for analyzing the qualitative
data.
The results showed that abused and neglected children amounted to 30.3 percent of
the total. The majority were physically abused (42.2%) followed by those mentally abused
(41.6 %). It was reported that 12.5 percent were neglected and 3.7 percent sexually abused.
Children were subjected mainly to multi-forms of abuse (57.1 percent). In all, 44.7 percent of the cases of abuse were found in children aged 5-12-years. Regarding the risk
behaviors, 32.7 percent were gambling and illicit drug use; followed by irregularities in
emotion, function and expression, 26.4 percent; social interaction, 21.5 percent; and sexuality, 19.6 percent. The risk factors and condition of the parents related to child abuse and
neglect included the following: 1) drinking and gambling, 2) middle and low economic
status, and 3) poor family relationships (with domestic violence) in addition to parents
sparing only limited time for their children. Risk factors related directly to the children
were overindulgence in social life compared with other responsibilities.