บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของสภาวะตาบอด ตาเลือนรางและโรคตาที่เป็นสาเหตุสำคัญและเป็นปัญหาสาธารณสุขในกลุ่มประชากรเด็กไทยอายุ 1 ถึง 14 ปี โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเฉพาะกลุ่มประชากรวัยเด็กอายุ 1 ถึง 14 ปี จำนวน 2,743 ราย ของโครงการสำรวจสภาวะตาบอด สายตาเลือนราง และโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550(1) ซึ่งเก็บตัวอย่างโดยวิธี Stratified cluster random sampling ในพื้นที่ 22 จังหวัด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า อัตราความชุกของสภาวะตาบอดและตาเลือนรางเมื่อปรับตามอายุและเพศแล้วเท่ากับร้อยละ 0.11 และ 0.21 ตามลำดับ ประมาณการณ์ว่ามีเด็กไทยเป็นคนตาบอด 13,101 คน และเป็นคนตาเลือนราง 26,670 คน โรคที่เป็นสาเหตุของสภาวะตาบอดในเด็กไทยจากการสำรวจครั้งนี้เกิดจากโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 66.67 และภาวะตามัวจากสายตาสั้นมาก(-9.00 Diopter both eyes)ร้อยละ 33.33 โรคที่เป็นสาเหตุของสภาวะตาเลือนรางเกิดจากภาวะตามัวจากสายตาสั้นมาก(-6.00 Diopter, -11.00 Diopter)ร้อยละ 28.55 โรคของสมองร้อยละ 14.29 ต้อกระจกร้อยละ 14.29 ประสาทตาฝ่อร้อยละ 14.29 ความผิดปกติที่กระจกตาร้อยละ 14.29 และภาวะตาแกว่งแต่กำเนิดร้อยละ 14.29
สำหรับโรคตาที่เป็นปัญหาในกลุ่มประชากรวัยเด็ก กลุ่มที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางการเห็นที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ภาวะสายตาผิดปกติร้อยละ 19.36 รองลงมาคือ โรคตาเขพบร้อยละ 1.24 และ ภาวะตามัวร้อยละ 0.36 โรคต้อกระจกร้อยละ 0.25 และความผิดปกติของเปลือกตาร้อยละ 0.22 ขณะที่กลุ่มโรคตาที่พบแต่ไม่ทำให้เกิดความบกพร่องทางการเห็นมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ภาวะสงสัยว่าเป็นต้อหินร้อยละ 0.73 รองลงมาคือ โรคเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 0.22 โรคท่อน้ำตาต่อจมูกอุดตัน แผ่นเยื่อคลุมจอตา โรคต้อเนื้อ และโรคจอตาเสื่อมมีสารสี พบร้อยละ 0.12 เท่ากัน
บทคัดย่อ
The objective of this paper was to study the epidemiology of blindness, low vision and eye diseases
in Thai children population by analysis the secondary data of surveyed sample aged 1-14 years totally
2,743 cases in the First Thai Visual Impairment Project 2006-2007. The surveyed data weighted on the
basis of stratified cluster random sampling represent the whole country was collected in 22 provinces.
The study found that the prevalence of blindness and low vision were 0.11% and 0.21% respectively.
The estimated number of blindness and low vision in Thai children population were 13,101 cases and
26,670 cases respectively. The causes of blindness were retinopathy of prematurity (ROP) 66.67% and amblyopia from uncorrected high myopia (-9.00 diopter both eye) 33.33%. The causes of low vision were
amblyopia from uncorrected high myopia (-6.00 and -11.00 diopter both eye) 28.55%, cortical blindness,
congenital cataract, optic atrophy, corneal disorders and congenital nystagmus 14.29% each. Top five of
eye diseases with visual impairment were refractive error 19.36%, strabismus 1.24%, amblyopia 0.36%,
cataract 0.25% and eyelid disorders 0.22%. Top five of eye diseases without visual impairment were glaucoma
suspect 0.73%, allergic conjunctivitis 0.22% and nasolacrimal duct obstruction, epiretinal membrane,
pterygium, retinitis pigmentosa 0.12% each.
Thus the Ministry of Public Health and the Department of Medical Services who have the responsibility
to take care the health of the population, should have the effective policy and strategy to reduce the
prevalence of childhood blindness and low vision. The comprehensive projects cover early detection,
proper intervention and referral system for complicated cases with participation of the community were
the key of success factors.