บทคัดย่อ
การศึกษาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการเก็บขยะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการเก็บขยะในช่วงน้ำท่วมของพนักงานเก็บขยะ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ.2555 โดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองกับพนักงานเก็บขยะของสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 186 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ไค-สแควร์ และการถดถอยพหุโลจิสติก วิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมพนักงานเก็บขยะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ60.5 ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการเก็บขยะเมื่อได้ควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่อยู่ในโมเดลแล้วพบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ หน่วยงานจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เพียงพอระดับมาก [ORadj(95% CI)=15.37 (4.24, 55.69)] และระดับปานกลาง [ORadj (95% CI)=4.63 (1.64, 13.09)] และการกำหนดค่าจ้าง/เงินเดือนที่เหมาะสมระดับมาก [ORadj (95% CI)=10.21 (2.56, 40.74)] และระดับปานกลาง [ORadj (95% CI)=3.94 (1.46, 10.66)] ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการบาดเจ็บขณะทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การกำหนดค่าจ้าง/เงินเดือนที่เหมาะสมระดับมาก [ORadj (95% CI)=6.76 (2.31, 19.79)] และเพื่อนร่วมงาน/หัวหน้าห่วงใยและเตือนให้ระวังอันตรายขณะเก็บขยะระดับมาก [ORadj (95% CI)=5.25 (1.5o, 18.31)] ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะน้อยครั้ง [ORadj (95% CI)=9.28 (2.71, 31.81)] และปานกลาง [ORadj (95% CI)=4.05 (1.11, 14.73)] ตามลำดับ ข้อเสนอแนะคือ การเก็บขยะในภาวะวิกฤติน้ำท่วมนั้น สำนักงานเขตที่รับผิดชอบควรวางแผนและประยุกต์ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน
บทคัดย่อ
The purposes of this cross-sectional study were to study the disease and injury preventative behaviors
and to exam factors related to disease and injury preventative behaviors of garbage collectors during flood crisis. Data collection took place during February to March 2012 by using self-reported questionnaires
from non-randomization of 186 garbage collectors who worked in one district office of Bangkok
Metropolitan. Employing descriptive statistics, chi-square and multiple logistic regression, the overall
results found that the garbage collectors had the disease and injury preventative behaviors at a low level
(60.5 %). The relation between factors and the disease and injury preventative behaviors after adjusted for
the other variables in the model showed: 1) using self-preventative equipment behaviors statistically correlated
with the provision of these procured by the office for individual prevention tools at a high level
[ORadj (95% CI)=15.37 (4.24, 55.69)] and at a middle level [ORadj (95% CI)=4.63 (1.64, 13.09)] and appropriated
income with responsibility during flood crisis at a high level [ORadj (95% CI)=10.21 (2.56, 40.74)] and
at a middle level [ORadj (95% CI)=3.94 (1.46, 10.66)] respectively. 2) injury preventative behaviors statistically
correlated with the appropriated income at a high level [ORadj (95% CI)=6.76 (2.31, 19.79)] and thoughtfulness
and admonition of colleagues for during work accidents at a high level [ORadj (95% CI)=5.25 (1.50,
18.31)] respectively. And 3) risking injury occupational behavior statistically correlated with worked training
at a low level [ORadj (95% CI)=9.28 (2.71, 31.81)] and at a middle level [ORadj (95% CI)=4.05 (1.11, 14.73)]
respectively. In conclusion: Collecting garbage during flood crisis, the responsible office should plan and
modify predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors for management in order to prevent
the diseases and occupational injuries.