บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 ราย คือ กลุ่มที่ได้รับการดูแลปรกติทั่วไป เป็นผู้ป่วยนอกเขตตำบลบ้านผือ และกลุ่มที่ได้รับการดูแลในระบบที่พัฒนาเป็นผู้ป่วยในเขตตำบลบ้านผือ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการหาค่าระดับน้ำตาลที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง (HbA1c) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างทางสถิติด้วยการทดสอบที และ Paired t - test; กำหนดความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.05 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. การดูแลในสถานบริการ ประกอบด้วย บริการรักษาแบบครบวงจร การจัดกิจกรรมกลุ่ม การให้คำปรึกษารายบุคคลแก่ผู้ป่วยและครอบครัว การจัดตั้งชมรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน การจัดกิจกรรมเข้าค่ายเบาหวานสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล การสนับสนุนและให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และการอบรมแกนนำเครือข่าย 2. การบริการในชุมชน การติดตามเยี่ยมที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ การศึกษาพบว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนการพัฒนาระบบการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้ที่มีระดับน้ำตาลที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงในระดับดี (HbA 1C น้อยกว่าร้อยละ 3) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 52 และค่าเฉลี่ยระดับ HbA1C ลดลงกว่าก่อนการพัฒนาระบบการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพบริการ และสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน จึงควรมีการขยายไปสู่เครือข่ายบริการปฐมภูมิในพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงต่อไป
บทคัดย่อ
A quasi-experimental research study was carried out in the period from January to
June 2007 in order to study the development of a care system for diabetes mellitus patients with regard to self-care behaviors and blood sugar level (HbA1
c) control in type II diabetes mellitus patients. The patients were divided into two study groups comparing
50 patients each. The experimental group included patients who lived in Banphue subdistrict (catchment area of Banphue Hospital). The control group constituted those living
in the other subdistrict. The information was collected by interview on self-care behaviors and blood sugar level (HbA1
c) determination. Data were analyzed by the SPSS program using frequency expressed by percentage, means and standard deviation, and by ttest and paired t-test for the differential test. The statistical significance was at 0.05 and
lower.
The development of the system was divided into two sections: 1. caring at the hospital, such as a one-stop service, self-help group, individual counselling for the patients
and their families, diabetes mellitus society setting, diabetes mellitus camping, and empowerment to the diabetes mellitus care network by a multidisciplinary health team; and
2. caring in the community in the form of home visits by a multidisciplinary health team.
The study revealed that the development of the diabetes mellitus patients care system affected statistical significance at the level of 0.05, both on better self-care behaviors
and blood sugar level (HbA1
c).
It indicates that the development of a care system for diabetes mellitus patients is
necessary and very important for improving service quality and the quality of life of the
patients. It should be extended to other primary care units in Banphue District elsewhere.