• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลกระทบของการเปิดตลาดการค้าเสรีต่อกำลังคนพยาบาล

รัชนี ศุจิจันทรรัตน์; วิไลวรรณ ทองเจริญ; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; เดช เกตุฉ่ำ; Rachanee Sujijantararat; Vilaivan Thongcharoen; Wimolrat Puwarawuttipanit; Det Kedcham;
วันที่: 2556-03
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษานโยบายและผลกระทบของการเปิดตลาดการค้าเสรีด้านบริการสุขภาพ ต่อกำลังคนพยาบาล รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร วิเคราะห์เนื้อหาและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนโยบาย Free Trade Agreement (FTA) และผู้มีส่วนได้เสีย เป็นรายบุคคล จำนวน 10 คน จัดหมวดหมู่ตามประเด็น สรุปนโยบาย แผนการดำเนินงาน สภาพปัญหา และผลกระทบของ FTA , ASEAN Free Trade Area (AFTA), ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) และ ASEAN Economic Community (AEC), ที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพและอัตรากำลังพยาบาล ผลการวิจัย: พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ความมีชื่อเสียงด้านคุณภาพ ศักยภาพทางการแพทย์ ราคา และอัธยาศัยที่ดีของผู้ให้บริการของประเทศไทย ส่งผลให้ผู้รับบริการชาวต่างชาติเข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบว่าจำนวนพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนปี 2553 เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 66.08 โดยในปี 2550 เพิ่มสูงสุด ร้อยละ 83.59 แต่ขณะเดียวกันอัตรากำลังภายในประเทศของไทยยังขาดแคลน ประชาชนเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง การเปิดเสรีการค้าบริการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้ประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียนเดินทางเข้าออกสะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยสองประเด็นหลัก คือ 1) มีการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการจากต่างชาติขึ้นอีกส่งผลให้เกิดความขาดแคลนภายในประเทศมากขึ้น 2) การเคลื่อนย้ายของบุคลากรทางการแพทย์ อาจมีปัญหาในกลุ่มพยาบาลที่เคลื่อนย้ายเข้าประเทศไทยเนื่องจากคุณภาพการศึกษาของพยาบาลในอาเซียนมีความแตกต่างกันมาก ก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้รับบริการในประเทศไทยได้ ในด้านการเตรียมการของไทยเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรีด้านบริการสุขภาพ พบว่ายังขาดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพ ทำให้หน่วยงานต่างๆไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องกันเพื่อเตรียมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติให้ดีเท่าที่ควร และสร้างความสมดุลของการให้บริการคนไทยอย่างเป็นธรรม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: รัฐบาลควรกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติของประเทศที่ชัดเจน และบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างเป็นระบบในด้านการผลิตและการพัฒนาบทบาทความรับผิดชอบของบุคลากรทางการแพทย์ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบบริการสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอันเป็นเป้าหมายสูงสุด

บทคัดย่อ
Objective: To explore policies and effects of Free Trade Agreement on nursing workforce. Research design: Qualitative research design Methods: 1. Relevant documents were collected; content was attracted and classified into research questions. 2.Ten key informants were interviewed under semistructured questions to summarize policies, state plan, problems and effects of FTA, AFTA, AFAS and AEC related to health care services and nursing workforce. Results: This study revealed that Thailand had a good potential to be a World Class Health Care Hub. Notable cost, quality of medical care and Thai hospitality led to a rapid increasing number of foreigners who came to Thailand seeking for medical treatment. Number of registered nurse working in private hospitals in 2010 had increased for 66.08 % comparing to the year 1999; the highest increasing rate was 83.59% in 2007. On the other hand, it deteriorated nurse shortage in Thailand and un-equivalent accessibility to health care among Thai people. The Priority Integration Sectors (PIS) of AEC targeted in 2015 facilitates travelling across boarder among ASEAN people but two anticipated problems were identified; 1) aggravating the increasing number of patient seeking medical treatment and worsen the situation of nurse shortage, and 2) nurse migration from ASEAN countries. As nursing education systems are much different among ASEAN countries, problems of unequivalent education of nursing personnel are encountered and may harm patients. Preparation for FTA in health care services in Thailand has not been very well arranged. Strategic plan, action plan and hosting organization were not clearly identified resulting in fragmentation of work of related parties and imbalance services provided to Thais. Policy implications: Leading organization is essential for driving nation strategies of the government. Ministry of Public Health, Ministry of labor, Ministry of Education and Ministry of Commerce must be liable. Roles and responsibility of private hospitals must be heightened and be integrated with the government to balance benefit and loss from being World Class Health Care Hub for better health service system and good quality of life of Thai people, ultimate goal of the nation.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v7n1 ...
ขนาด: 325.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 2
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 119
ปีพุทธศักราชนี้: 77
รวมทั้งหมด: 2,028
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV