• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง

วิน เตชะเคหะกิจ; พิรกิจ วงศ์วิชิต; ธีรยุทธ สุขโสม; อภิชญา บุรพัฒนานนท์; วัชลาวลี แย้มแก้ว; กาญจน์กนก พูลติ้ม; ปฐมพร แก้ววานิช; สุภิดา ลอยธาร; ชนินาถ อินทร์ด้วง; ปฐมาวดี ชิตเพชร; วัชพล ธนมิตรามณี; Win Techakehakij; Piragit Wongwichit; Thirayut Suksom; Apichaya Burapatthananon; Watchalawalee Yamkaew; Kankanok Pooltim; Pathomporn Kaewwanich; Supida Loytharn; Chaninat Induang; Phatthamawadee Chitphet; Vatchapon Tanamittramanee;
วันที่: 2556-06
บทคัดย่อ
ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่การศึกษาเกี่ยวกับขนาดของภาระทางการเงินของครัวเรือนเกี่ยวกับต้นทุนนี้ยังมีน้อยอยู่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีและหน่วยบริการปฐมภูมิ 4 แห่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ระหว่างสถานพยาบาลและภูมิลำเนาของผู้ป่วย ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจำนวน 200 คน และที่หน่วยบริการปฐมภูมิ 4 แห่งในเขตอำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี จำนวน 147 คน ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม ถึง 21 ธันวาคม พ.ศ.2555 การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลต้นทุนของปี พ.ศ.2555 เป็นปีฐาน การศึกษาใช้สถิติ t-test และ ANOVA ในการเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างสถานพยาบาลและระหว่างภูมิลำเนาของผู้ป่วย โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 การศึกษาพบต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์เฉลี่ยของหน่วยบริการปฐมภูมิเท่ากับ 76.7 บาท ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ของผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ซึ่งเท่ากับ 585.6 บาท เมื่อพิจารณาต้นทุนของผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามภูมิลำเนาของผู้ป่วย พบว่าต้นทุนของผู้ป่วยที่มีลำเนาอยู่ในอำเภอเมืองเท่ากับ 248.3 ต่างอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่ากับ 774.8 และนอกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่ากับ 1,719.4 บาท การเปรียบเทียบต้นทุนตามภูมิลำเนาพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้ประเมินต้นทุนที่เกิดต่อครัวเรือนในการที่ผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยเน้นต้นทุนที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ ข้อมูลนี้จึงอาจนำมาใช้ประกอบการพัฒนาระบบสุขภาพ ทั้งด้านการรักษาและการส่งต่อ เพื่อลดภาระต้นทุนของผู้ป่วยต่อไป

บทคัดย่อ
While direct non-medical costs (DNMc) are inevitable for healthcare seekers, little is known about the magnitude of the economic burden on the household. The study aims to estimate the DNMc of outpatients at Suratthani hospital and four primary care units (PCUs) in Suratthani’s municipal area. In addition, the DNMc of patients were compared across different health centers as well as the patients’ household areas. We interviewed 200 patients/caretakers at the out-patient department at Suratthani hospital and 147 patients/caretakers at 4 PCUs in the municipal area from 24 October to 21 December 2012. All cost data were collected and calculated using 2012 as the base year. Statistical analysis, including t-test and ANOVA, was performed to compare the DNMc between subgroups, with a statistical significance level of 0.05. The average DNMc of patients at PCUs, 76.7 baht, were significantly lower than those incurred by patients at the hospital, 585.6 baht. Within this latter group, the DNMc of those who lived in the municipal area, outside the municipal area, in Suratthani, and outside Suratthani were 248.3, 774.8 and 1,719.4 baht, respectively, with statistically significant differences. The study quantifies the household cost for out-patients, demonstrating potential economic barriers faced by health care seekers. Information from this study can be used when designing a treatment and referral system that seeks to minimize the financial burden on the patient.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v7n2 ...
ขนาด: 150.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 9
ปีงบประมาณนี้: 73
ปีพุทธศักราชนี้: 53
รวมทั้งหมด: 1,374
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV