บทคัดย่อ
แนวการจัดการโลจิสติกส์โดยวิธีจัดการคลังสินค้าโดยคู่ค้าแบบประยุกต์ ได้ถูกนำมาปรับใช้ในหลายภาคส่วนที่มีการจัดการสินค้าคงคลัง และมีการพิสูจน์ถึงประโยชน์ชัดเจน แต่ในการจัดการการกระจายเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะขั้นตอนการกระจายสู่สถานีอนามัยลูกข่ายของโรงพยาบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร พบว่าการกำหนดปริมาณอุปสงค์มีแนวโน้มต่อการเก็บเวชภัณฑ์เกินความจำเป็นไว้ในคลัง งานวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบกึ่งทดลองที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดใน 3 กลุ่ม เปรียบเทียบก่อนและหลังการนำวิธีจัดการคลังสินค้าโดยคู่ค้าแบบประยุกต์มาใช้ ได้แก่ 1) ประสิทธิผลงานคลัง 2) ต้นทุนและผลได้ 3) ความพึงพอใจ โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มในเครือข่ายสถานีอนามัยอำเภอคลองลานจำนวน 10 แห่ง ระยะเวลา 8 เดือน ระหว่างธันวาคม 2554 – กรกฎาคม 2555
การเปรียบเทียบก่อน (ธันวาคม 2554 - มีนาคม 2555) และหลัง (เมษายน 2555 - กรกฎาคม 2555) การนำวิธีจัดการคลังสินค้าโดยคู่ค้าแบบประยุกต์มาใช้ พบว่าให้ผลดีทั้ง 3 กลุ่มตัวชี้วัด กล่าวคือ ด้านประสิทธิผลงานคลัง พบว่าระยะเวลาคงคลังเฉลี่ย (เดือน) ลดลงชัดเจนจาก 6.67 เดือน เป็น 1.31 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มเวชภัณฑ์ที่มีอัตราการใช้สูง ด้านต้นทุนและผลได้ พบว่าลดต้นทุนการเก็บเวชภัณฑ์คงคลังรวม 1,006,416.55 บาท และอัตราส่วนต้นทุนและผลได้ คือ 88.03 เท่า ด้านความพึงพอใจ พบว่าผู้เกี่ยวข้องเห็นประโยชน์จากการนำวิธีจัดการคลังสินค้าโดยคู่ค้าแบบประยุกต์มาใช้ในการบริการคลังเวชภัณฑ์ของสถานีอนามัยลูกข่าย เพราะลดภาระการทำงาน แต่ยังต้องจัดประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับปรุงและรักษาระบบใหม่ร่วมกัน
บทคัดย่อ
Logistics management is a useful tool with applicability to many businesses. However, drug distribution
from Klonglan District Hospital to its primary care networks was still in its infancy, resulting in an
excessive drug inventory. This is a quasi-experiment study that monitored 3 Key Performance Indicators
(KPIs) for comparison before and after using the modified vendor-managed inventory (VMI). The KPIs
were 1) inventory efficiency evaluated by ratio analysis, 2) cost-benefit analysis, and 3) stakeholder satisfaction
evaluated through content analysis from focus group discussions. The KPIs were monitored for
eight months at ten primary care units in Klonglan district. The period before using the modified VMI was
from December 2011 - March 2012; the period after using the modified VMI was from April 2012-July 2012
The results showed that KPIs were improved. The average inventory turnover ratio was reduced
from 6.67 months to 1.31 months. The inventory cost saving was 1,006,416.55 baht and the benefit-to-cost
ratio was 80.03. Stakeholders expressed satsifaction with the modified VMI because of the lower workload.
Regular meetings among stakeholders, however, are needed for improvement and maintenances of the
new inventory management system.