บทคัดย่อ
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคน
ด้านสุขภาพ (สวค.) ได้ร่วมกันจัดประชุมวิชาการ ‘สรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการ
ถ่ายโอนสถานีอนามัย’ ขึ้นมา โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากพื้นที่ต่างๆ เข้าร่วมกว่า 100 คน
สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ได้ติดตามเรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาก่อน จึงขออธิบายความ
เป็นมาของเรื่องนี้ให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่า การถ่ายโอนสถานีอนามัยเป็นการดำเนินการตาม
หลักคิดการกระจายอำนาจของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2540 และปี 2550 มี
บทบัญญัติสำคัญประการหนึ่งก็คือ ให้ ‘รัฐกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นพึ่ง
ตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง’
จากนั้นต่อมาในปี 2542 จึงมี ‘พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น’ ออกมา เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่การให้บริการสาธารณะและการ
จัดสรรสัดส่วนภาษีอากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อนำไปใช้บริหารท้องถิ่น
ต่อไป โดย ‘บริการสาธารณะ’ ที่จะให้ท้องถิ่นบริหารจัดการแทนส่วนกลางนั้น มีความหมาย
ที่กว้างขวาง ไม่จำเพาะเจาะจงแต่บริการด้านสุขภาพหรือการถ่ายโอนสถานีอนามัยเท่านั้น แต่
ยังรวมไปถึงบริการอื่นๆ ด้วย เช่น การศึกษา สาธารณูปโภค ความปลอดภัย ฯลฯ ยกเว้น
กิจการทหาร ศาลยุติธรรม และอัยการ
ทั้งนี้ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพไปสู่ท้องถิ่น จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้นได้ใน
เร็ววัน เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และโครงสร้างทางอำนาจ ฉะนั้นในระหว่าง
นี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีคิด ทบทวนและปรับปรุงวิธี
ปฏิบัติให้สอดคล้องกับยุคและสถานการณ์ ตลอดจนให้เวลากับการเตรียมความพร้อมและ
การทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่สิ่งนี้
สวรส. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้ติดตามและประเมินผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยมา
อย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมสรุปบทเรียนและทิศทางในอนาคตการ
ถ่ายโอนสถานีอนามัย 28 แห่ง ขึ้น เพื่อนำประสบการณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบมาแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน ซึ่งเวทีนี้มีข้อเสนอแนะต่อทิศทางในอนาคตอย่างไรนั้น พลิกอ่านได้จากรายงาน
พิเศษในฉบับ
นอกจากนี้ HSRI Forum ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยฉบับนี้หยิบผลงานวิจัย R2R
ดีเด่น ภายใต้หัวข้อ ‘การเปรียบเทียบความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง และต้นทุน
ระหว่างการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดกับระบบปิดในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเสนา’
มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งเป็นผลงานจากการประกวดในงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่
งานวิจัย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ภายใต้แนวคิด ‘วิถี R2R : เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร’
ต่อกันด้วยต้นกล้าต้นแบบการแปลงแนวคิดการถ่ายโอนสู่การปฏิบัติ ของสถานีอนามัยตำบล
หาดทนง อ.เมือง จ.อุทัยธานี กับปฏิบัติการเชิงรุกงานสุขภาพ และการเตรียมแผน
“เอาอยู่” รับมือน้ำท่วม และอีกหลายเรื่อง ขอเชิญท่านผู้อ่านติดตามได้ในฉบับนี้