บทคัดย่อ
ฉบับนี้ มาพร้อมกับช่วงของการเปลี่ยนผ่านสำคัญที่จะเกิดในปี 2557 นี้ ซึ่งเป็น วาระที่ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552” มาบรรจบครบ 5 ปี ที่จะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงธรรมนูญตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เพื่อทำให้การขับเคลื่อนและพัฒนาระบบสุขภาพ เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ธรรมนูญสุขภาพฯ นั้น นับเป็นธรรมนูญฯ ฉบับแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ และเป็นพันธะร่วมกันของสังคม เพื่อนำไปใช้เป็นฐานอ้างอิงในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพในอนาคต เมื่อถึงวาระในการทบทวนครั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้มอบให้สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข (สวรส.)เป็นผู้ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นฐานหรือหัวใจสำคัญของการปรับปรุงธรรมนูญฯ ในครั้งนี้ จึงเกิดการร่วมมือกันระหว่างองค์กรด้านนโยบาย คือ สช. กับองค์กรทางวิชาการ คือ สวรส. ในการดำเนิน
โครงการศึกษาและทบทวนความรู้จากกระบวนการขับเคลื่อนใช้ประโยชน์ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งทั้งหมดได้สรุปในรายงานพิเศษ “ร่างภาพอนาคต...ก้าวใหม่ ธรรมนูญระบบสุขภาพฯ”
สำหรับคอลัมน์เส้นทางระบบสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน ชวนติดตามผลการวิจัย ทบทวน “ธรรมนูญสุขภาพฯ 2552” ผลงานของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด และคณะ ที่จะเป็นเข็มทิศนำทางระบบสุขภาพ ผลงานของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด และ คณะ เพื่อการทบทวนและปรับปรุงธรรมนูญสุขภาพฯ ใหม่ในปี 2557 นี้ ภายใต้เป้าหมาย ธรรมนูญสุขภาพฯ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยทุกคนเข้าใจและมีส่วนร่วมในการสร้างระบบสุขภาพที่ดีให้เกิดขึ้น นอกจากนั้น ในคอลัมน์แกะกล่องงานวิจัย ได้รวบรวมข้อเสนอแนะที่ได้จากการทบทวนสถานการณ์ระบบสุขภาพราย หมวดในธรรมนูญฯ ที่น่าสนใจมานำเสนอไว้ในฉบับนี้ด้วย ต่อด้วยคอลัมน์ต้นกล้าความรู้สู่ต้นแบบสุขภาพ โชว์งานวิจัย R2R หัวข้อ “การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว เพื่อการเข้าถึงยาต้านการเกิดลิ่มเลือด และระบบบริการวาร์ฟารินในบริบท รพ.ชุมชน” โดย นพ.นิพนธ์ นครน้อย และคณะ 1 ในเมล็ดกล้าของระบบ สุขภาพที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัย R2R ดีเด่น ประเภทกลุ่มงานบริการระดับทุติยภูมิ ประจำปี 2556 ตบท้ายด้วยเปิดห้องรับแขก ต้อนรับ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยทางด้านสุขภาพที่มีมุมมอง การใช้ชีวิตและผลงานวิจัยหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านนวัตกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์ระบบ สุขภาพ และการอภิบาลระบบสุขภาพ
สุดท้ายกับไฮทไลท์ระบบสุขภาพฉบับนี้ ได้สะท้อนภาพความท้าทายอีกช่วงสำคัญของสวรส. ที่จะต้องก้าวผ่านสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่สลับซับซ้อนในช่วงการเปลี่ยนผ่านของบริบทโลก และสังคมขณะนี้ไปได้อย่างไร บนบทบาทของ สวรส. กับ “การขับเคลื่อนองค์ความรู้เพื่อระบบ สุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน”