บทคัดย่อ
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย อุบัติการณ์ คือ 25.6 คนต่อผู้หญิงไทย 100,000 คนปัจจุบันมีเพียงการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรมที่มีหลักฐานยืนยันว่าลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านม แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ เครื่องมือ และจำนวนบุคคลากร การจัดระบบคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรมในระดับประชากรจึงทำได้ยาก ดังนั้นการคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรม 1 ครั้งในชีวิตน่าจะเป็นไปได้มากกว่า การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม ๑ ครั้งในชีวิตของผู้หญิงไทยอายุ 40-49 ปี และ 50-59 ปี โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มของการตรวจคัดกรองในผู้หญิงทุกคน ระหว่างอายุ 40-49 ปี และอายุ 50-59 ปี ด้วยเครื่องแมมโมแกรม 1 ครั้งในชีวิต เมื่อเทียบกับการคัดกรองแบบ opportunistic screening เท่ากับ 1,847,481 บาทและ 1,368,764 บาท ตามลำดับ มาตรการนี้จึงไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย
บทคัดย่อ
Breast cancer is the most common cancer in Thai women with the age-standardized incidence rate of
25.6/100,000. Among mammography, clinical breast examination, and self breast examination, only mammographic
screening showed efficacy in decreasing mortality rate from breast cancer. But an organized
mammographic screening has not been established in Thailand due to lack of human resource and infrastructure.
The study aimed to evaluate the cost-utility of establishing a once-in-a-lifetime breast cancer
screening with mammography in Thai women aged 40-49 years and aged 50-59 years through decision
tress. Societal perspective was used to estimate both direct and indirect costs. Incremental cost-effectiveness
ratios (ICER) were calculated and sensitivity analysis was performed by applying probabilistic sensitivity
analysis. ICERs of establishing a once-in-a-lifetime breast cancer screening with mammography in
Thai women aged 40-49 years and 50-59 years were 1,847,481 Bath/QALY and 1,368,764 Bath/QALY,
respectively. The measure was not found to be cost-effective in Thailand.