บทคัดย่อ
องค์กรในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ได้ออกคำแนะนำสำหรับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรทั่วไปจนถึงอายุ ๖๕ ปี เพื่อแก้ปัญหาและควบคุมสถานการณ์โรคเอดส์ แต่อุปสรรคและข้อท้าทาย คือ การถูกตีตรา การถูกแบ่งแยก และสิทธิมนุษยชน การศึกษานี้จึงทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในประชากรทั่วไปที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในบริบทของประเทศไทย จากการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ ระบบบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบ่งเป็น การดําเนินงานโดยสถานบริการและการจัดบริการในชุมชน อัตราการยอมรับการตรวจในสถานบริการคือร้อยละ ๑๑-๙๕ และในชุมชนคือร้อยละ ๕๑-๘๓ การศึกษาของประเทศไทยพบว่าการให้คำปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีที่สถานพยาบาล โดยผู้ให้บริการเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการในผู้มีอายุ ๑๓-๕๐ ปี ที่สมัครใจเข้ารับบริการ มีประสิทธิภาพในการเพิ่มอัตราการเข้ารับบริการและมีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย จึงควรจัดให้มีบริการดังกล่าวในสถานพยาบาลทุกระดับ สำหรับบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในรูปแบบอื่น ควรสนับสนุนการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความเหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย
บทคัดย่อ
In spite of the policy of expanding HIV testing coverage to all adults up to 65 years of age being
recommended by international organizations, social and ethical concerns related to HIV testing exist,
including discrimination, stigma and human rights protection. The study reviewed service models of HIV
testing in the general population to identify the appropriate and effective approaches towards achieving
high uptake of testing among general population in Thailand. There are two voluntary counseling and
testing (VCT) service models: facility- and community -based services. The acceptance rate ranged from
11% - 95% for facility-based VCT and from 51% - 83% for community-based VCT. Provider-initiated VCT
was not only effective in offering VCT to general population, but also cost-effective for people aged 13-50
years. PIVCT should thus be performed in all healthcare facilities in Thailand, while further research on
other approaches are recommended.