• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แนวทางการคัดกรองโรคหืดระดับประชากรในประเทศไทย

พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ; Patsri Srisuwan; ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร; Tanunya Koopitakkajorn; ปฤษฐพร กิ่งแก้ว; Pritaporn Kingkaew; ศิตาพร ยังคง; Sitaporn Youngkong; ศรีเพ็ญ ตันติเวสส; Sripen Tantivess; ยศ ตีระวัฒนานนท์; Yot Teerawattananon;
วันที่: 2556-12
บทคัดย่อ
โรคหืดเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ ความชุกและภาระโรคสูงในประเทศไทย ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการคัดกรองโรคหืดระดับประชากรในประเทศไทยที่ชัดเจน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวทางการคัดกรองโรคหืดระดับประชากร โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น ๑) รวบรวมแนวเวชปฏิบัติทั้งในและต่างประเทศ และประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางกรอบการศึกษา ๒) ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) ๓) สรุปผลการทบทวนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อหาข้อสรุปสุดท้าย แนวทางเวชปฏิบัติในต่างประเทศและประเทศไทย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหืดไม่กล่าวถึงหรือแนะนำการคัดกรองโรคหืดด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการในประชากรทั่วไป แต่แนะนำให้คัดกรองผู้มีอาการจากการซักประวัติ การคัดกรองโดยพิจารณาจากประวัติผู้ป่วยและการตรวจสไปโรเมตรีย์ในเด็กไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่คุ้มค่าในเด็กที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดแต่ควบคุมโรคไม่ได้ ขณะที่การคัดกรองโดยแบบสอบถามอาจทำให้ค้นหาผู้ป่วยได้มากขึ้น ข้อสรุปจึงเป็นการไม่แนะนำการคัดกรองโรคหืดระดับประชากรในประเทศไทยด้วยวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่แนะนำให้คัดกรองในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหืดแล้ว แต่ยังควบคุมอาการไม่ได้ และควรพัฒนาแบบสอบถามเพื่อคัดกรองโรคหืดที่เหมาะสมกับสังคมไทย

บทคัดย่อ
Although asthma is a disease of high prevalence, incidence and burden of disease in Thailand, no population-based screening guideline exists for the country. The purpose of this article was to review the recommendations of population-based screening guideline for asthma in three phases: discussing guidelines from Thailand and international literature with clinical experts for scoping of the research; conducting a systematic literature review; and presenting preliminary recommendations to stakeholders. We found no recommendation for asthma screening via laboratory testing in the general population. Asthma screening through history-taking and spirometry was cost-effective only in children with uncontrolled asthma, but not cost-effective in unaffected children, while screening with questionnaire could detect more patients. In conclusion, screenings were recommended only in children with uncontrolled asthma. Moreover, appropriate questionnaire for the Thai society should be developed to increase detection.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v7n4 ...
ขนาด: 151.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 57
ปีพุทธศักราชนี้: 33
รวมทั้งหมด: 1,245
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV