บทคัดย่อ
การตรวจคัดกรองสุขภาพเป็นการซักถามหรือตรวจเบื้องต้น เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือโรคในประชากรสุขภาพดี เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค อย่างไรก็ตาม การกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ด้านการตรวจคัดกรองสุขภาพหลายรายการในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยยังขาดข้อมูลสนับสนุนด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ประเมิน และเสนอมาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพที่มีประสิทธิผล คุ้มค่า และเหมาะสมในบริบทของประเทศไทยเพื่อนำเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ โดยเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่ควรมีการตรวจคัดกรอง ทำการทบทวนนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอในการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดกรอบในการประเมินประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความเหมาะสม จากนั้นประมวลผลเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก่อนนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายต่อไป มาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพในระดับประชากรที่แนะนำให้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย การตรวจ HBsAg และ anti-HBs เพื่อคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดหรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเพื่อคัดกรองโรคโลหิตจางในเด็ก การเจาะระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน การประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวม การคลำชีพจรเพื่อคัดกรองภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การวัดค่าดัชนีมวลกายเพื่อคัดกรองภาวะทุพโภชนาการ การตรวจ Pap smear หรือ VIA เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก การใช้แบบสอบถาม ASSIST เพื่อคัดกรองปัญหาการดื่มสุรา และการให้คำปรึกษาและการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีที่สถานพยาบาล (ตามความสมัครใจ) และการวัดสายตาในผู้สูงอายุที่ขอทำและต่ออายุใบอนุญาตขับขี่เพื่อคัดกรองปัญหาอุบัติเหตุจราจร รวมถึงมาตรการที่แนะนำให้ประชากรตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ได้แก่ การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อคัดกรองภาวะทุพโภชนาการ และการคำนวณความยาวรอบเอวต่อส่วนสูงเพื่อคัดกรองโรคอ้วน
บทคัดย่อ
Population-based screening is one of the public health services that attempt to identify people at risk
of, or are already affected by, a disease. A number of health screening tests have been publicly funded in Thailand without rigorous assessment of scientific evidence. This study aims to develop an appropriate
population-based screening package in Thailand through a transparent, systematic, and participatory
process. Health problems were prioritized through a consultation meeting among stakeholders and reviewed
for their screening tools. The results were appraised and deliberated for consensus. The final
recommendations for appropriate population-based screening package include screening hepatitis B surface
antigen (HBsAg) and hepatitis B surface antibody (anti-HBs) for hepatitis B virus infection; complete
blood count (CBC) or hematocrit level (Hct) for anemia in infants; fasting plasma glucose for diabetes;
global risk scores for coronary heart diseases; pulse palpitation for atrial fibrillation; body mass index for
malnutrition; Pap smear or VIA for cervical cancer; ASSIST for alcohol dependence; provider-initiated
voluntary counseling and testing for HIV infection; and visual acuity for traffic accident. Two screening
tests were recommended for self-examination: measurement of weight and height for malnutrition; and
calculation of waist-to-height ratio for obesity.