บทคัดย่อ
รูปแบบใหม่ในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นการผสมผสานการทำงานระหว่างภาครัฐ กับ ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.
การดำเนินงานการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ เปรียบเทียบกับรูปแบบเดิมที่ปฏิบัติกันมาในด้านการบูรณาการกิจกรรม งบประมาณ การบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข ระยะเวลาในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชน 2. ศึกษาประสิทธิผลของการจัดบริการสุขภาพแนวใหม่ เทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองโรคและตรวจประเมินสมรรถภาพของร่างกายมากกว่าร้อยละ 60 3. ประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชาชนผู้มารับบริการ ผู้นำชุมชนและตัวแทนภาคีเครือข่าย ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ระเบียบวิธีศึกษา ในเดือนเมษายน 2550 จัดทำโครงการคาราวานส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพ อำเภอวังจันทร์ 23 ครั้ง เปรียบเทียบกับการดำเนินงานในรูปแบบเดิม แล้วประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์และแปลผลจากแบบฟอร์มบันทึกผลการตรวจคัดกรองโรค และตรวจสุขภาพ ผลการดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลวังจันทร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชาชนผู้มารับบริการ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย.ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการจัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ตามรูปแบบแนวใหม่สามารถบูรณาการงานด้านส่งเสริมสุขภาพ เช่น การคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม มะเร็งคอมดลูก โรคตา โรคทางทันตกรรม โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะโลหิตจาง การประเมินสุขภาพ เช่น ประเมินรอบเอว ดัชนีมวลกาย ซึ่งสามารถบูรณาการร่วมกันในการจัดกิจกรรมเพียงครั้งเดียว และใช้งบประมาณส่วนใหญ่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก การทำงานเป็นทีมระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพอย่างเข้มแข็งทำให้สามารถเก็บผลงานให้ผ่านตามเกณฑ์ชี้วัดระดับจังหวัด ภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือน และสามารถจัดกิจกรรมให้บริการแก่ประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้ ได้ผลงานสูงกว่าร้อยละ 60 ของประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมายตามกิจกรรมที่กำหนด การประเมินผลความพึงพอใจ พบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชาชนผู้รับบริการ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพมากกว่า ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่
บทคัดย่อ
The Public Health Coordination Committee of Wangchan District, Rayong Province
has started a new form of health promotion for the people of Wangchan District under a
project named “Caravan for active health promotion, conducted by networks of participants
in the community.” The objectives were: (1) to compare activities between the new
and the former health services on aspects of their activities, budget, personnel, time consumption,
and involvement of health networks in the community; (2) to evaluate the
outcomes regarding the expected target establised by provincial as well as ministerial
public health policy; and (3) to determine satisfaction with the project among public health
staff, the target group, community leaders and health network participants. Information
sources were derived from questionnaires and working records.
The overall results of the descriptive study demonstrated the superiority of the new
form of health-promotion service to the former one on aspects of health benefits to the
community as well as the satisfaction of the participants involved in the study.