• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาการบริหารจัดการ การดำเนินการของสถานพยาบาลภายใต้นโยบายการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 มีนาคม 2553

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์; ธัญธิตา วิสัยจร; ปริญดา เสนีย์รัตนประยูร; วีระศักดิ์ พุทธาศรี; วิชช์ เกษมทรัพย์; คนางค์ คันธมธุรพจน์; สุพล ลิมวัฒนานนท์; Rapeepong Suphanchaimat; Thunthita Wisaijohn; Parinda Seneerattanaprayul; Weerasak Putthasri; Vijj Kasemsup; Kanang Kantamaturapoj; Supon Limwattananonta;
วันที่: 2556-07-01
บทคัดย่อ
นโยบายระบบประกันสุขภาพผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ได้รับการอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่จำเป็น และ (2) เพื่อแก้ปัญหาภาระค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข และลดรายจ่ายจากการรับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กำหนดนโยบายมา ยังไม่มีการประเมินผลจากการดำเนินงานตามนโยบายนี้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารจัดการและผลกระทบของนโยบายต่อสถานพยาบาล งานวิจัยฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจการบริหารจัดการและการดำเนินการของสถานพยาบาลในการให้บริการสุขภาพ เพื่อให้บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิได้เข้าถึงและได้รับการบริการสุขภาพที่จำเป็นภายใต้ระบบประกันสุขภาพผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี 23 มีนาคม 2553 ผ่านกรณีศึกษาจังหวัดระนองและจังหวัดตาก การศึกษานี้พบว่าการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิตลอดสามปีที่ผ่านมา แม้จะประสบความสำเร็จในการลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยที่มาใช้บริการสุขภาพ และเพิ่มรายได้ให้แก่สถานพยาบาล แต่ไม่ได้ส่งผลให้ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงภาระงานของสถานพยาบาล นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดและพบปัญหาในการบริหารจัดการระบบ ทั้งนี้ควรมีการบทบทวนข้อดี ข้อเสีย ของการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิในปัจจุบันเปรียบเทียบกับระบบบริหารจัดการอื่นๆ ร่วมด้วย

บทคัดย่อ
This study aimed to better understand the management and the operation of health facilities under 'Health Insurance Policy for People with Citizenship Problems: the Cabinet Resolution on 23rd March 2010', which enabled the target population to access to essential health services, through a case study in Ranong and Tak province. This study suggests that HIS-PCP successfully reduced the expenditure from receiving healthcare services in the target population and also made health facilities gain more revenue. However, it did not signifcantly change the utilizations of the target population and the service burdens at health facilities. Futhermore, there remain unsolved problems in managing the system. A comprehensive review on advantages and disadvantages of the operation of HISPCP as status quo comparing with other alternatives in managing the system is recommended.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2106.pdf
ขนาด: 1.663Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 78
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV