• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ชีวการเมืองและเรือนร่างพิการ : ประวัติศาสตร์การสร้างพลเมืองที่กํ้ากึ่ง

ประชาธิป กะทา; Prachatip Kata;
วันที่: 2557-06-01
บทคัดย่อ
หนังสือเล่มนี้ จะเปิดเผยความไม่คงเส้นคงวาและการเปลี่ยนรูป (transformation) ของนโยบายของรัฐไทยที่มีต่อคนพิการภายใต้บริบทการเมืองและเศรษฐกิจในแต่ละยุค อิทธิพลอำนาจวาทกรรมขององค์กรระดับนานาชาติ และหลักการศีลธรรมเชิงสถาบัน (moral institution) ของพุทธเถรวาทที่ร่วมกันสร้างระบอบศีลธรรมและจริยธรรมเกี่ยวกับคนพิการในสังคมไทย ภายใต้ระบอบศีลธรรมและจริยธรรมดังกล่าวนี้ คนพิการกลายมาเป็น“องค์ประธานทางการเมือง” (political subjects) ถูกทำให้เป็นปัญหา (problematized) ทั้งในฐานะประเด็นปัญหาทางการเมืองและศีลธรรม รัฐไทยจำแนกแยกแยะคนพิการผ่านอำนาจองค์อธิปัตย์ (sovereign) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ไม่เพียงคนพิการถูกดึงเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมสอดส่องของอำนาจรัฐไทยเพื่อเบียดขับออกไปจากสังคม (inclusion-exclusion) (Agamben ๑๙๘๘) กล่าวคือ ชีวการเมือง (biopolitics) จากอำนาจรัฐไทยได้จำแนกแยกแยะคนพิการให้อยู่ในกลุ่มประชากรกลุ่มเดียวกันกับคนขอทาน คนเร่ร่อนจรจัดในเมือง ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ในสายตาของรัฐเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อปัญหาสังคมเมือง ดังนั้น ควรต้องได้รับการกักเก็บไว้ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ ชีวอำนาจ (biopower) ของรัฐไทยยังได้สร้าง “ความเป็นพลเมืองเชิงชีวะ” (biological citizenship) ให้กับคนพิการ (Petryna ๒๐๐๒) กล่าวคือ รัฐอาศัยแง่มุมเชิงชีววิทยา ในกรณีนี้ได้แก่ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายในการเป็นเกณฑ์มาตรฐานกำหนดความเป็นพลเมืองของรัฐที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือสงเคราะห์สวัสดิการจากรัฐหรือไม่ นอกจากนั้น จะแสดงให้เห็นว่าชีวการเมืองของรัฐไทยข้างต้นซึ่งมีมุมมองต่อคนพิการในฐานะ “พลเมืองที่ไร้สมรรถภาพ”สอดคล้องกลมกลืนกับความเชื่อเรื่องกรรมและวาทศิลป์ความเมตตากรุณา (rhetoric of compassion) จากหลักการศีลธรรมของพุทธเถรวาทซึ่งเผยแพร่ความเชื่อให้คนพิการต้องยอมรับความพิการของตนเองในฐานะผลกรรมจากชาติปางก่อน ผลลัพธ์ที่ตามมาจากการผสมกลมกลืนของอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐไทยและหลักการศีลธรรมของพุทธเถรวาทข้างต้นคือ คนพิการในฐานะผู้มีบาปและกรรมติดตัวมาแต่กำเนิดควรต้องยอมรับผลกรรมของความพิการของตัวเองในชาตินี้และรอคอยแค่การช่วยเหลือสงเคราะห์จากรัฐในฐานะ “วัตถุแห่งการสงเคราะห์” ในนามมนุษยธรรมเท่านั้น
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2114.pdf
ขนาด: 810.1Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 605
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Documents/Pocket Books [625]

    เอกสารเผยแพร่/พ็อกเกตบุ๊ก


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV